กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479

อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ตำบลบูกิต
3.
หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของตำบลบูกิต ตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดมากที่สุด มีการะบาดทุกปี ในปี 2567 ตำบลบูกิตมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2563 –ปี 2567) พบว่าตำบลบูกิตมีอัตราป่วยที่เกินเกณฑ์ค่ามัธยฐาน (เกิน 50 ต่อแสนประชากร) และ ปี 2567 ตำบลบูกิต แยกตามรพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง ดังนี้พบผู้ป่วยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปีแนมูดอ พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 87 ราย (ผู้ป่วยยืนยัน,ผู้ป่วยเข้าข่าย,ผู้ป่วยสงสัย) โดยแยกเป็นผู้ป่วยยืนยัน 37 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 742.08 ต่อแสนประชากรได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านปาตาบาเซ 4 ราย หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง 13 ราย หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ 6 รายหมู่ที่ 11 บ้าน กำปงบารู5 ราย และหมู่ที่ 12 บ้านบูเกะกือจิ 9 ราย ในพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต จำนวน 5 หมู่บ้าน พบว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 125 ราย แยกเป็น หมู่ที่ 1 บ้านเจาะเกาะจำนวนผู้ป่วย 60 ราย หมู่ที่ 2 บ้านบูเกะ จำนวน 21 ราย หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะเล็ง จำนวน 20 ราย หมู่ที่ 9 บ้านบือราแง จำนวน 9 ราย และหมู่ที่ 14 ดารุลอิฮซาน จำนวน 15 ราย พบผู้ป่วยยืนยัน และผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไอสะเตียร์จำนวน 5 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 4 บ้านกูเว จำนวน 23 ราย หมู่ที่5 บ้านสะเตียร์ จำนวนผู้ป่วย 26 ราย หมู่ที่ 8 บ้านไอสะเตีย จำนวน ผู้ป่วย 27 ราย และหมู่ที่ 13 บ้านไอกูเล็ง จำนวนผู้ป่วย 39 ราย รวมทั้งสิ้น 115 รายซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าที่กำหนด ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาทีม SRRT ระดับพื้นที่ให้มีความรู้ถึงขีดความสามารถในการเฝ้าระวังสอบสวนและตอบสนอง เร่งด่วนต่อภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ และให้ทีม SRRT สามารถป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงระบาด สิ่งสำคัญที่สุด เน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้น ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team: SRRT) ตำบลบูกิต มีการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2568

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
    ตัวชี้วัด : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ60)
    ขนาดปัญหา 186.00 เป้าหมาย 40.00
  • 2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ ทุกภาคส่วน ประชาชนทุกหมู่บ้าน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค
    ตัวชี้วัด : ทุกภาคส่วน ประชาชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค ทุกหมู่บ้าน
    ขนาดปัญหา 14.00 เป้าหมาย 14.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังและควบคุมโรค
    รายละเอียด

    กิจกรรมประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังและควบคุมโรค

    • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 4 ป้ายๆละ 720 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท
    งบประมาณ 2,880.00 บาท
  • 2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลดการแพร่ระบาดใน พื้นที่ตำบลบูกิต
    รายละเอียด

    กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลดการแพร่ระบาดใน พื้นที่ตำบล

    • ค่าน้ำยาเคมีภัณฑ์ป้องกันเเละกำจัดยุง 5 ขวด ราคาขวดละ 1,850 บาท รวม 9,250 บาท
    • ค่าทรายอะเบท 50 กรัม (500 ซอง)/ถัง 25 กก. จำนวน 4 ถังๆละ 5,500 บาท เป็นเงิน 22,000 บาท

    • ค่าถุงมือดิสโพส จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ 1,050 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

    • ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 4 กล่อง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่าหน้ากาก N 95 จำนาน 1 กล่อง ๆเป็นเงิน 1,700 บาท
    • ค่าหน้ากาก 3 M จำนวน 1 ชุดๆ ละ 2,800 บาท

    • ค่าไส้กรอง 1 ชุด 850 บาท
    • ค่าน้ำมันเบนซิน 13,000 บาท
    • ค่าน้ำมันดีเซล 25,000 บาท

    • ค่าสเปรย์กันยุงขนาด 30 มล.จำนวน 200 ขวดๆละ 49 บาท เป็นเงิน 9,800 บาท

    • ค่าโลชั่นกันยุงขนาด 50 มล. จำนวน 200 ขวดๆละ 55 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท
    งบประมาณ 99,500.00 บาท
  • 3. ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่น หมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่นโรงเรียน ๓ เดือนต่อครั้ง
    รายละเอียด

    ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ในพื้นที่เสี่ยง เช่นโรงเรียน โรงเรียนศพด. โรงเรียนตาดีกา 2 ครั้ง

    • โรงเรียนของรัฐ จำนวน 7 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 14 ครั้ง

    • โรงเรียนของเอกชน จำนวน 5 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 10 ครั้ง

    • โรงเรียนศพด. จำนวน 1 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 2 ครั้ง

    • โรงเรียนตาดีกาจำนวน 20 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 40 ครั้ง

      รวมทั้งหมด 66 ครั้ง

    • ค่าตอบแทนพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย จำนวน 66 ครั้งๆละ 300 บาทเป็นเงิน 19,800 บาท

    งบประมาณ 19,800.00 บาท
  • 4. พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 3 ครั้ง
    รายละเอียด

    พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 3 ครั้ง

    • ประมาณการผู้ป่วย 20 ราย x 3 ครั้ง x 300 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
    งบประมาณ 18,000.00 บาท
  • 5. ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 1
    รายละเอียด

    ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิต

    • วาระการประชุมทีม SRRT เครือข่ายสุขภาพตำบลบูกิต

    • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม

    • ติดตามสถานการณ์โรคในพื้นที่

    • รายงานสถานการณ์โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ช่วงที่ผ่านมา (เช่น ไข้เลือดออก, COVID-19, โรคติดต่อทางเดินอาหาร ฯลฯ)

    • รายงานการสอบสวนโรคกรณีเฉพาะ (ถ้ามี)

    • ประเมินศักยภาพทีม SRRT

    • การจัดเวรเฝ้าระวังและการตอบสนอง

    • ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น การลงพื้นที่, ขาดอุปกรณ์, ข้อมูลไม่ครบถ้วน

    • แผนงาน/กิจกรรมต่อไป

    • ข้อเสนอแนะจากเครือข่ายสุขภาพ

    • เปิดให้หน่วยบริการ/อสม./ผู้นำชุมชน แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

    • สรุปมติ/แนวทางดำเนินงาน

    • มอบหมายงาน / กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม

    • กำหนดวันติดตาม/ประชุมครั้งถัดไป

    • เอกสารแนบที่ควรจัดเตรียม

    1. รายงานสถานการณ์โรคประจำเดือน

    2. รายชื่อสมาชิกทีม SRRT และบทบาทหน้าที่

    3. แบบฟอร์มการสอบสวนโรค (กรณีมีเหตุการณ์เฉพาะ)

    4. แผนเผชิญเหตุประจำปี

    งบประมาณ 4,400.00 บาท
  • 6. ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 2
    รายละเอียด

    วาระการประชุม และผลการดำเนินงาน

    1. รายงานสถานการณ์โรคในพื้นที่

    2. ประเมินผลการดำเนินงานของทีม SRRT

    3. แผนการขับเคลื่อนในปี 2569

    งบประมาณ 4,400.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ตำบลบูกิต

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 148,980.00 บาท

หมายเหตุ : 1) ประชาสัมพันธ์โดยการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แผ่นพับ ชี้แจงทางหอกระจายข่าว ของหมู่บ้าน และในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการจัดสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลในบ้าน/บริเวณบ้าน (2) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการฯ ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซินสารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายใน ชุมชน วัด มัสยิดโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (3) สนับสนุนทรายอะเบท น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำยาพ่นละอองฝอย สเปรย์กันยุง ให้เพียงพอต่อการใช้งาน (4) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย (5) จัดทำรายงานสรุป

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
    1. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้
  2. ประชาชนมีความรู้มีความตระหนักและร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเองร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
    1. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479

อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479

อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 148,980.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................