กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ตำบลบูกิต

พื้นที่ตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

327.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของตำบลบูกิต ตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดมากที่สุด มีการะบาดทุกปี ในปี 2567 ตำบลบูกิตมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2563 –ปี 2567) พบว่าตำบลบูกิตมีอัตราป่วยที่เกินเกณฑ์ค่ามัธยฐาน (เกิน 50 ต่อแสนประชากร) และ ปี 2567 ตำบลบูกิต แยกตามรพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง ดังนี้พบผู้ป่วยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปีแนมูดอ พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 87 ราย (ผู้ป่วยยืนยัน,ผู้ป่วยเข้าข่าย,ผู้ป่วยสงสัย) โดยแยกเป็นผู้ป่วยยืนยัน 37 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 742.08 ต่อแสนประชากรได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านปาตาบาเซ 4 ราย หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง 13 ราย หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ 6 รายหมู่ที่ 11 บ้าน กำปงบารู5 ราย และหมู่ที่ 12 บ้านบูเกะกือจิ 9 ราย ในพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต จำนวน 5 หมู่บ้าน พบว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 125 ราย แยกเป็น หมู่ที่ 1 บ้านเจาะเกาะจำนวนผู้ป่วย 60 ราย หมู่ที่ 2 บ้านบูเกะ จำนวน 21 ราย หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะเล็ง จำนวน 20 ราย หมู่ที่ 9 บ้านบือราแง จำนวน 9 ราย และหมู่ที่ 14 ดารุลอิฮซาน จำนวน 15 ราย พบผู้ป่วยยืนยัน และผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไอสะเตียร์จำนวน 5 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 4 บ้านกูเว จำนวน 23 ราย หมู่ที่5 บ้านสะเตียร์ จำนวนผู้ป่วย 26 ราย หมู่ที่ 8 บ้านไอสะเตีย จำนวน ผู้ป่วย 27 ราย และหมู่ที่ 13 บ้านไอกูเล็ง จำนวนผู้ป่วย 39 ราย รวมทั้งสิ้น 115 รายซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าที่กำหนด ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาทีม SRRT ระดับพื้นที่ให้มีความรู้ถึงขีดความสามารถในการเฝ้าระวังสอบสวนและตอบสนอง เร่งด่วนต่อภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ และให้ทีม SRRT สามารถป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงระบาด สิ่งสำคัญที่สุด เน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้น ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team: SRRT) ตำบลบูกิต มีการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ60)

186.00 40.00
2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ ทุกภาคส่วน ประชาชนทุกหมู่บ้าน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค

ทุกภาคส่วน ประชาชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค ทุกหมู่บ้าน

14.00 14.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 186
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสุขภาพ 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังและควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังและควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังและควบคุมโรค

  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 4 ป้ายๆละ 720 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2880.00

กิจกรรมที่ 2 ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลดการแพร่ระบาดใน พื้นที่ตำบลบูกิต

ชื่อกิจกรรม
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลดการแพร่ระบาดใน พื้นที่ตำบลบูกิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลดการแพร่ระบาดใน พื้นที่ตำบล

  • ค่าน้ำยาเคมีภัณฑ์ป้องกันเเละกำจัดยุง 5 ขวด ราคาขวดละ 1,850 บาท รวม 9,250 บาท
  • ค่าทรายอะเบท 50 กรัม (500 ซอง)/ถัง 25 กก. จำนวน 4 ถังๆละ 5,500 บาท เป็นเงิน 22,000 บาท

  • ค่าถุงมือดิสโพส จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ 1,050 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

  • ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 4 กล่อง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าหน้ากาก N 95 จำนาน 1 กล่อง ๆเป็นเงิน 1,700 บาท
  • ค่าหน้ากาก 3 M จำนวน 1 ชุดๆ ละ 2,800 บาท

  • ค่าไส้กรอง 1 ชุด 850 บาท
  • ค่าน้ำมันเบนซิน 13,000 บาท
  • ค่าน้ำมันดีเซล 25,000 บาท

  • ค่าสเปรย์กันยุงขนาด 30 มล.จำนวน 200 ขวดๆละ 49 บาท เป็นเงิน 9,800 บาท

  • ค่าโลชั่นกันยุงขนาด 50 มล. จำนวน 200 ขวดๆละ 55 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99500.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่น หมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่นโรงเรียน ๓ เดือนต่อครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่น หมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่นโรงเรียน ๓ เดือนต่อครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ในพื้นที่เสี่ยง เช่นโรงเรียน โรงเรียนศพด. โรงเรียนตาดีกา 2 ครั้ง

  • โรงเรียนของรัฐ จำนวน 7 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 14 ครั้ง

  • โรงเรียนของเอกชน จำนวน 5 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 10 ครั้ง

  • โรงเรียนศพด. จำนวน 1 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 2 ครั้ง

  • โรงเรียนตาดีกาจำนวน 20 โรงๆละ 2 ครั้งรวมเป็น 40 ครั้ง

    รวมทั้งหมด 66 ครั้ง

  • ค่าตอบแทนพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย จำนวน 66 ครั้งๆละ 300 บาทเป็นเงิน 19,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดการระบาดไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19800.00

กิจกรรมที่ 4 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 3 ครั้ง

  • ประมาณการผู้ป่วย 20 ราย x 3 ครั้ง x 300 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้องการการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิต

  • วาระการประชุมทีม SRRT เครือข่ายสุขภาพตำบลบูกิต

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม

  • ติดตามสถานการณ์โรคในพื้นที่

  • รายงานสถานการณ์โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ช่วงที่ผ่านมา (เช่น ไข้เลือดออก, COVID-19, โรคติดต่อทางเดินอาหาร ฯลฯ)

  • รายงานการสอบสวนโรคกรณีเฉพาะ (ถ้ามี)

  • ประเมินศักยภาพทีม SRRT

  • การจัดเวรเฝ้าระวังและการตอบสนอง

  • ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น การลงพื้นที่, ขาดอุปกรณ์, ข้อมูลไม่ครบถ้วน

  • แผนงาน/กิจกรรมต่อไป

  • ข้อเสนอแนะจากเครือข่ายสุขภาพ

  • เปิดให้หน่วยบริการ/อสม./ผู้นำชุมชน แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

  • สรุปมติ/แนวทางดำเนินงาน

  • มอบหมายงาน / กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม

  • กำหนดวันติดตาม/ประชุมครั้งถัดไป

  • เอกสารแนบที่ควรจัดเตรียม

  1. รายงานสถานการณ์โรคประจำเดือน

  2. รายชื่อสมาชิกทีม SRRT และบทบาทหน้าที่

  3. แบบฟอร์มการสอบสวนโรค (กรณีมีเหตุการณ์เฉพาะ)

  4. แผนเผชิญเหตุประจำปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กรกฎาคม 2568 ถึง 9 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิต มีความเข้าใจตรงกัน สามารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์

ประชุมคณะกรรมการทีม SRRT จำนวน 40 คน

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 60 บาท 2,400 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 25 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 2,000 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วาระการประชุม และผลการดำเนินงาน

  1. รายงานสถานการณ์โรคในพื้นที่

  2. ประเมินผลการดำเนินงานของทีม SRRT

  3. แผนการขับเคลื่อนในปี 2569

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กันยายน 2568 ถึง 18 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานผลการดำเนินงาน

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน2,400 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 25 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 2,000 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 148,980.00 บาท

หมายเหตุ :
1) ประชาสัมพันธ์โดยการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แผ่นพับ ชี้แจงทางหอกระจายข่าว
ของหมู่บ้าน และในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการจัดสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลในบ้าน/บริเวณบ้าน

(2) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการฯ ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซินสารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายใน ชุมชน วัด มัสยิดโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

(3) สนับสนุนทรายอะเบท น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำยาพ่นละอองฝอย สเปรย์กันยุง ให้เพียงพอต่อการใช้งาน

(4) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย

(5) จัดทำรายงานสรุป

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
2. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้
3. ประชาชนมีความรู้มีความตระหนักและร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเองร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
4. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค


>