โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L2479-5-01-2568 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ตำบลบูกิต |
วันที่อนุมัติ | 19 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 148,980.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปารีดะ แก้วกรด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 186 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 327.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของตำบลบูกิต ตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดมากที่สุด มีการะบาดทุกปี ในปี 2567 ตำบลบูกิตมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2563 –ปี 2567) พบว่าตำบลบูกิตมีอัตราป่วยที่เกินเกณฑ์ค่ามัธยฐาน (เกิน 50 ต่อแสนประชากร) และ ปี 2567 ตำบลบูกิต แยกตามรพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง ดังนี้พบผู้ป่วยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปีแนมูดอ พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 87 ราย (ผู้ป่วยยืนยัน,ผู้ป่วยเข้าข่าย,ผู้ป่วยสงสัย) โดยแยกเป็นผู้ป่วยยืนยัน 37 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 742.08 ต่อแสนประชากรได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านปาตาบาเซ 4 ราย หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง 13 ราย หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ 6 รายหมู่ที่ 11 บ้าน กำปงบารู5 ราย และหมู่ที่ 12 บ้านบูเกะกือจิ 9 ราย ในพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต จำนวน 5 หมู่บ้าน พบว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 125 ราย แยกเป็น หมู่ที่ 1 บ้านเจาะเกาะจำนวนผู้ป่วย 60 ราย หมู่ที่ 2 บ้านบูเกะ จำนวน 21 ราย หมู่ที่ 3 บ้านโต๊ะเล็ง จำนวน 20 ราย หมู่ที่ 9 บ้านบือราแง จำนวน 9 ราย และหมู่ที่ 14 ดารุลอิฮซาน จำนวน 15 ราย พบผู้ป่วยยืนยัน และผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไอสะเตียร์จำนวน 5 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 4 บ้านกูเว จำนวน 23 ราย หมู่ที่5 บ้านสะเตียร์ จำนวนผู้ป่วย 26 ราย หมู่ที่ 8 บ้านไอสะเตีย จำนวน ผู้ป่วย 27 ราย และหมู่ที่ 13 บ้านไอกูเล็ง จำนวนผู้ป่วย 39 ราย รวมทั้งสิ้น 115 รายซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าที่กำหนด ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาทีม SRRT ระดับพื้นที่ให้มีความรู้ถึงขีดความสามารถในการเฝ้าระวังสอบสวนและตอบสนอง เร่งด่วนต่อภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ และให้ทีม SRRT สามารถป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงระบาด สิ่งสำคัญที่สุด เน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้น ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team: SRRT) ตำบลบูกิต มีการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน ตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ60) |
186.00 | 40.00 |
2 | เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ ทุกภาคส่วน ประชาชนทุกหมู่บ้าน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค ทุกภาคส่วน ประชาชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค ทุกหมู่บ้าน |
14.00 | 14.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลดการแพร่ระบาดใน พื้นที่ตำบลบูกิต | 0 | 99,500.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 3 ครั้ง | 0 | 18,000.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่น หมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่นโรงเรียน ๓ เดือนต่อครั้ง | 0 | 19,800.00 | - | ||
9 ก.ค. 68 | ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 1 | 0 | 4,400.00 | - | ||
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวังและควบคุมโรค | 0 | 2,880.00 | - | ||
18 ก.ย. 68 | ประชุมทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เครือช่ายสุขภาพตำบลบูกิตครั้งที่ 2 | 0 | 4,400.00 | - | ||
รวม | 0 | 148,980.00 | 0 | 0.00 |
ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้
ประชาชนมีความรู้มีความตระหนักและร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเองร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 00:00 น.