2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพัทลุง เป็นหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม แก่เด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่าง ระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีวินัย และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในปัจจุบันสังคมไทยมุ่งเน้นการจัดระบบสวัสดิการ ต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายโดยรัฐ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง มีการขับเคลื่อนการดำเนินการ ด้านกฎหมาย นโยบาย แผนงานต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กพิเศษมากขึ้น
หากแต่ในความเป็นจริงคงไม่สามารถปฏิเสธ ได้ว่ายังมีจำนวนเด็กพิเศษอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถ เข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคมซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ เด็กพิเศษส่วนใหญ่ ยังขาดการฟื้นฟูในทุกด้าน ขาดโอกาสในการเรียนรู้สู่สังคมภายนอก อันเนื่องมาจากครอบครัวเด็กพิเศษ ขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิเศษเหล่านั้นออกสู่สังคมภายนอก ที่นอกเหนือจากบ้านพัก และชุมชนในครอบครัวตัวเอง อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจและขาดการยอมรับเด็กพิเศษเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้เด็กพิเศษเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนา และฟื้นฟูในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของแต่ละ บุคคล ขาดทักษะการดำรงชีวิต จากประสบการณ์จริงในการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ ในการเข้าสู่สังคม “ครอบครัวเด็กพิเศษ” เป็นผู้ที่มีบทบาท สำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กพิเศษ หากครอบครัวเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเด็กพิเศษ จากโลกภายนอก และจากประสบการณ์เรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ย่อมส่งผลให้ครอบครัว เกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กพิเศษมากขึ้น และหากเด็กพิเศษเองได้มี กระบวนการเรียนรู้ทักษะต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสมย่อมส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการ พัฒนาและเรียนรู้อย่างรอบด้านเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า มีกลุ่มครอบครัวเด็กพิเศษที่ยังขาดโอกาส ในการมีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมและขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้และการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตใหม่ ๆ ตลอดจนได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริม การเรียนรู้ ของเด็กและครอบครัวได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง จึงตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของเด็กพิเศษ ทั้ง ๙ ประเภทความพิการ ซึ่งเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าทุกด้านและมีปัญหาทางด้านสุขภาพ
ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพัทลุง จึงได้เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ของผู้เรียน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงได้จัดทำโครงการ “การส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากและหลักโภชนาการของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ” ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยทั้งสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดี ตามจุดเน้นด้านสุขภาพองค์รวมของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพปัญญา และสุขภาพสังคม โดยเน้นให้ผู้เรียน “ เรียนดี มีความสุข ”
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
2) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและภาวะโภชนาการที่ดีของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/06/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1) เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีสุขภาพช่องปากและร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
2) เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้วิธีการดูแลช่องปากและรู้หลักการรับประทานอาหารที่ถูกโภชนาการ
3) พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยงผู้ดูแลคนพิการได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการดูแลช่องปากและอาหารที่ถูกหลักโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็ก