กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ รู้ไวปลอดภัย ป้องกันได้จากโรคมะเร็ง ชมรมสร้งสุขภาพหมู่ที่ ๙ บ้านไสยางผึ้ง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ รู้ไวปลอดภัย ป้องกันได้จากโรคมะเร็ง ชมรมสร้งสุขภาพหมู่ที่ ๙ บ้านไสยางผึ้ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1 นางบุญเรียงทองคง
2 นางหนูจาย เต็มราม
3 นางวิไลวรรณบัวศรี
4 นางกาญจนี วิชัยศร
5 นางปรีดานุ่นปาน

ม.๙ ต.ตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.04
2 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม

 

0.07

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูกแต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้นดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จ้าเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนดมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งในพื้นที่บ้านไสยางผึ้ง หมู่ที่ ๙ตำบลตะแพน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด ในปีงบประมาณ๒๕๖๖ละปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากการเป็นโรคมะเร็งในพื้นที่จำนวน11รายสาเหตุของการเป็นโรคมะเร็งมาจากการบริโภคอาหารปนเปื้อนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งและสาเหตุพันธุกรรมโดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมกลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยเล็งเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จะพบก็ต่อเมื่อแสดงอาการเป็นก้อนเนื้อหรือมีการลุกลามเจ็บปวดเด่นชัดในระยะที่ ๓,๔ ซึ่งโอกาสการรักษาหายมีน้อยมากจึงจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เมื่อมีความผิดปกติในร่างกายจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที และการที่จะให้รู้เร็ว รู้ทัน ป้องกันโรคมะเร็งนั้นจำเป็นต้องอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวให้มีความรู้เพื่อขยายผลให้สุขศึกษาและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายมีความตื่นตัวเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
ทางชมรมสร้างสุขภาพ หมู่ที่ ๙ บ้านไสยางผึ้งจึงเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องจัดอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวและผู้สนใจพร้อมคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นการค้นหาโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และเต้านมในกลุ่มเป้าหมายในหญิงวัยเจริญพันธ์

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และเต้านม ร้อยละ

60.00 90.00
2 เพื่ออบรมฟื้นฟูความรู้แกนนำสุขภาพครอบครัวเรื่องการควบคุมป้องกันโรคมะเร็ง

แกนนำสุขภาพครอบครัวได้รับการฟื้นฟูความรู้และการควบคุมป้องกันโรคมะเร็ง

75.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 618
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำสุขภาพเรื่องการควบคุมป้องกันโรคมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำสุขภาพเรื่องการควบคุมป้องกันโรคมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท = 4,500  บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน ๗๕ คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท = 3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2568 ถึง 18 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพมีความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคมะเร็ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ ในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมร้อยละ ๙๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>