2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี เป็นโรคติดต่ออันตรายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน แต่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึม อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโตร่วมด้วยโดยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆในร่างกาย ทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลต่อความสูญเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งมีผลกระทบต่อความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชนมีความตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหาซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้กลุ่มเด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญพร้อมช่วยกันดูแลและกระตุ้นเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังซึ่งในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ในปี 2567 พื้นที่ตำบลควนเมาที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีจังหวัดตรังพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 360.86 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ที่กำหนดคือ ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร) ซึ่งจะเห็นได้ว่าตำบลควนเมา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น โดยการกำจัดพาหะนำโรค ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งการควบคุมโรคนั้นจำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ชุมชน ประชาชน โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจึงจะสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรังจึงได้จัดทำโครงการ “อสม.น้อย ควบคุมโรคไข้เลือดออก” เพื่อให้นักเรียน คุณครู ผู้ปกครองและชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาของไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง มีส่วนร่วมในการหาวิธีการป้องกัน การแก้ไขเกี่ยวกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 15/07/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
2. มีแกนนำเยาวชน “อสม.น้อย” ในแต่ละโรงเรียน ที่มีบทบาทในการรณรงค์ เฝ้าระวัง และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน
3. โรงเรียนมีระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาชนะเก็บน้ำในโรงเรียนไม่พบลูกน้ำยุงลาย (CI ≤ 0%)