แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง
โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี เป็นโรคติดต่ออันตรายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน แต่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึม อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโตร่วมด้วยโดยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆในร่างกาย ทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลต่อความสูญเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งมีผลกระทบต่อความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชนมีความตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหาซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้กลุ่มเด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญพร้อมช่วยกันดูแลและกระตุ้นเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังซึ่งในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ในปี 2567 พื้นที่ตำบลควนเมาที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีจังหวัดตรังพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 360.86 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ที่กำหนดคือ ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร) ซึ่งจะเห็นได้ว่าตำบลควนเมา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น โดยการกำจัดพาหะนำโรค ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งการควบคุมโรคนั้นจำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ชุมชน ประชาชน โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจึงจะสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรังจึงได้จัดทำโครงการ “อสม.น้อย ควบคุมโรคไข้เลือดออก” เพื่อให้นักเรียน คุณครู ผู้ปกครองและชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาของไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง มีส่วนร่วมในการหาวิธีการป้องกัน การแก้ไขเกี่ยวกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
-
1. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้องขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อสร้างแกนนำเยาวชน “อสม.น้อย” ให้มีบทบาทในการรณรงค์และเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนตัวชี้วัด : มีการจัดตั้งทีม “อสม.น้อย” อย่างน้อย 1 ทีมต่อโรงเรียนขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอ และลดค่าดัชนีภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย (Container Index: CI) ให้เหลือร้อยละ 0ตัวชี้วัด : โรงเรียนที่เข้าร่วมมีกิจกรรมตรวจลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ และมีค่าดัชนีภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (Container Index: CI) ไม่เกิน ร้อยละ 0ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. อบรมให้ความรู้รายละเอียด
กิจกรรมย่อย
1.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก สาเหตุอาการโรคไข้เลือดออก สถานการณ์โรค แนวทางป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้แก่ คุณครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตพื้นที่ตำบลควนเมา
-โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ จำนวน 22 คน
-โรงเรียนบ้านทุ่งสมอ จำนวน 25 คน
-โรงเรียนบ้านหนองมวง จำนวน 36 คน -โรงเรียนวัดควนเมา จำนวน 102 คน
รวมทั้งสิ้น จำนวน 185 คน1.2 แบ่งกลุ่มระดมความคิด แนวทางการกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณพื้นที่บ้าน วัด โรงเรียน
1.3 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอแนวทางการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
งบประมาณ
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 8 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 185 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,625 บาท
ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 300 บาท
ค่าเอกสารคู่มือ อสม.น้อย ควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 185 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 3,700 บาท
ค่าเอกสารแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง จำนวน 185 ชุดๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 740 บาท
ค่ากระดาษบรู๊ฟ 48 แกรม 31x43 นิ้วจำนวน 30 แผ่นๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 150 บาท
ค่าปากกาเคมี 2 หัว จำนวน 10 ด้ามๆละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม (แฟ้ม, สมุด และปากกา) จำนวน 185 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 5,550 บาท
งบประมาณ 20,065.00 บาท - 2. รณรงค์ในชุมชนรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
- รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนแต่ละโรงเรียนและชุมชน
งบประมาณ
- ค่าป้ายไวนิลสำหรับรณรงค์ ขนาด 1.5x2 เมตร จำนวน 4 แผ่นๆละ 450 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
งบประมาณ 1,800.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รวมงบประมาณโครงการ 21,865.00 บาท
- ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
- มีแกนนำเยาวชน “อสม.น้อย” ในแต่ละโรงเรียน ที่มีบทบาทในการรณรงค์ เฝ้าระวัง และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน
- โรงเรียนมีระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาชนะเก็บน้ำในโรงเรียนไม่พบลูกน้ำยุงลาย (CI ≤ 0%)
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................