กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยผ่านกลไกตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ตำบลปูยุด ปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยผ่านกลไกตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ตำบลปูยุด ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลปุยุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานการมีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอาย 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญและคุ้มค่ากับ การลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์ สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาท ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ จดจำ และการเจริญเติบโตด้านร่างกาย อย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2-3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพจนถึงวัยผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ ที่สำคัญตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 มีการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต สร้างกลไกการดำเนินงานในการดูแต่สตรีและเด็กปฐมวัยในระดับพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงเป้าหมายการบูรณาการความร่วมมือทั้ง 6 กระทรวง โดยการยกระดับการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เป็นมหัศจรรย์ “1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ดังนั้น เพื่อเป็นเป็นการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการส่งเสริมและสร้างสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย ต่อเนื่องจนถึงเด็กอายุ 5 ปี โดยการขับเคลื่อน “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน” ภายใต้โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ซึ่งเป็นกลไกที่มุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เด็ก ปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ พัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อไป ดังนั้นทาง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ปูยุด ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยผ่านกลไกตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ตำบลปูยุด ปี 2568 ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานและยกระดับบริการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรบรรยาย 1 คน จำนวน 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท = 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 50 คน x 1 มื้อ = 3,500 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 30 บาท x 50 คน x 2 มื้อ = 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุอื่นๆ  (รายละเอียดตามเอกสารที่แนบ ก ) จำนวน 50 ชุด  = 4,443 บาท
  • ค่าคู่มือในการอบรมฯ จำนวน 50 ชุดๆ ละ 40 บาท = 2,000 บาท
  • ค่าไวนิล ขนาด 2 x 1 ม. (ตร.ม.ละ 300 บาท) = 600 บาท         รวมเป็นเงิน 15,343 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15343.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,343.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะทำงานฯ และภาคีเครือข่ายได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ กลไกลการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus
2. ยกระดับบริการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
3. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ พัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


>