กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โพนสว่าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอนามัยแม่ดี มีลูกแข็งแรง ตำบลโพนสว่าง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โพนสว่าง

รพ.สต.โพนสว่าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ตำบลโพนสว่าง มีหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด จำนวน ๓๕ คน สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กในตำบลโพนสว่าง อำเภอเมืองหนองคายพบปัญหาและอุปสรรคต่อสุขภาพมารดาและเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในหลายประเด็น ได้แก่ มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๗๑ หญิงตั้งครรภ์ อายุ ๑๕-๑๙ ปี จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๕๔ ทารกที่คลอดทั้งหมดมีจำนวน ๓๕คน มีทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม มีจำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ๘.๕๗ร้อยละของเด็กแรกเกิด – ต่ำกว่า ๖ เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ๖๖.๖๗ร้อยละเด็ก ๐-๕ ปี พัฒนาการสมวัย คิดเป็น ๙๖.๑๕ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเดื ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้ทำโครงการอนามัยแม่ดีมีลูกแข็งแรง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ขึ้น เพื่อให้ส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อันจะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัยซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
๑ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ ๑๒ สัปดาห์
๒ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ๕ ครั้งตามเกณฑ์
๒.๓ เพื่อการป้องกัน การตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี
๓ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน
๔ เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า๒,๕๐๐ กรัม
๕ เพื่อให้วัยรุ่นเกิดความตระหนักในการไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
๖. เพื่อส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด
๗ เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
๘ เพื่อให้เด็ก๐-๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งทางด้านร่างกายสติปัญญาอารมณ์ จิตใจ และสังคม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมประกวด “หนูน้อยพัฒนาการสมวัย”

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมประกวด “หนูน้อยพัฒนาการสมวัย”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
      ๒  จัดทำแผนงานโครงการและดำเนินการตามแผน ดังนี้        ๒.๑ .ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์  และผู้ดูแล  เรื่อง การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์  และการเตรียมตัวคลอดจำนวน  ๔๐ คน          ๒.๒ ให้ความรู้แก่หญิงหลังคลอด และผู้ดูแล  เรื่อง การปฏิบัติตัวหลังคลอด  การดูแลทารกแรกเกิด  และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่                 ๒.๓ ออกติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ทุกคนพร้อมทันตบุคลากร และครอบครัว ร่วมกับ อสม. จำนวน ๔ ครั้งตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงและแนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ความรู้ในการดูแลสภาวะทันตสุขภาพ โดยครอบครัวมีส่วนร่วม                  ๒.๔  ออกติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอด  และทารกแรกเกิด ร่วมกับ อสม. จำนวน ๓ ครั้ง และ แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด  และกระตุ้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว นาน ๖ เดือน                   ๒.๕ ส่งเสริมการได้รับไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด  โดยการแจกเกลือและแจกไข่ไอโอดีน โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลโพนสว่าง
        ๒.๖ จัดกิจกรรมทางสังคมโดย  ผู้เฒ่า  ผู้แก่  ปู่ย่าตายาย  ในชุมชน ผูกข้อมือรับขวัญหลาน  มี อสม.เป็นแม่บุญธรรม   ช่วยให้คำปรึกษาแนะนำการเลี้ยงลูกและการดื่มนมแม่                 ๒.๗ ติดตามเด็กให้ได้รับวัคซีน  การตรวจพัฒนาการ  การให้ความรู้แก่มารดาเรื่องโภชนาการในเด็ก  ตรวจสุขภาพช่องปาก  การได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก  การส่งเสริมพัฒนาการด้วย  กิน  กอด  เล่น เล่า
                ๒.๘ จัดทำเอกสารแผ่นพับ ให้ความรู้ เรื่องการป้องกันท้องไม่พร้อม ในวัยรุ่น สำหรับสถานศึกษา โรงเรียนในเขตรับผิดชอบตำบลตำบลโพนสว่าง
                 ๒.๙ จัดทำเอกสารแผ่นพับ เรื่องโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์

                  ๒.๑๐ จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันในคลินิกสุขภาพเด็กดี                              -ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ  ๙ เดือน-๔๒ เดือนที่มารับบริการ                  -เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ ๙-๔๒ เดือน
        ๒.๑๑ ขยายจัดตั้งเครือข่ายชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว ในเขตตำบลโพนสว่าง ทุกหมู่บ้าน         ๒.๑๒ จัดกิจกรรมประกวด “หนูน้อยพัฒนาการสมวัย”         ๒.๑๓ ออกคัดกรองพัฒนาการในศูนย์เด็กเล็ก  จำนวน ๑ ศูนย์และโรงเรียนที่มีระดับอนุบาลอีก ๖ แห่ง                 ๒.๑๔ ติดตามผลการดำเนินงาน   งบประมาณ
จากเงินบำรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสว่าง ได้รับสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลโพนสว่าง เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย  ตามรายละเอียดดังนี้ ๑ ค่าวัสดุสำนักงาน                                                         เป็นเงิน  ๑,๐๐๐  บาท ๒ ค่าสนับสนุนไข่ไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด จำนวน ๘๐ คน
     คนละ๑แผง/แผงละ    ๑๒๐  บาท                                      เป็นเงิน  ๙,๖๐๐  บาท ๓ ค่าป้ายไวนิลประกวดหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ขนาด ๑x๓เมตร จำนวน ๑ป้าย
    เป็นเงิน     ๓๐๐  บาท ๔ ค่ารางวัลประกวดหนูน้อยพัฒนาการสมวัย                             เป็นเงิน   ๒,๐๐๐  บาท         - รางวัลที่ ๑    ๑๐๐๐              - รางวัลชมเชย  ๕๐๐ บาท ๒ รางวัล ๕ ค่าจัดทำเอกสารการคัดกรองพัฒนาการ  ๓๐๐ ชุด/ละ ๖ บาท       เป็นเงิน   ๑,๘๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๗๐ ๒ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์  ร้อยละ ๗๐ ๓ หญิงมีครรภ์มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ๔ เด็กได้รับการตรวจช่องปาก  ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ การทาฟลูออไรด์วานิชป้องกัน
      ฟันผุและเด็กที่มีฟันผุได้รับการส่งต่อรักษากับทันตะบุคคลากรอย่างเหมาะสม ๕ เด็กแรกเกิด ๐-๕ ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๘๕ ๖ ลดอัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ๗ ลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ  ๑๕-๑๙ ปี น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ๘ หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน ร้อยละ ๖๐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๕ ต่อปี ๙ ลูกเกิดรอด  แม่ปลอดภัย  น้ำหนักแรกเกิดมากกว่า ๒,๕๐๐  กรัม ทุกราย ๑๐ หญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอดได้รับบริการติดตามเยี่ยมตามเกณฑ์ทุกราย


จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๘.๑ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๗๐
๘.๒ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ ๗๐
๘.๓ หญิงมีครรภ์มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง
๘.๔ เด็กได้รับการตรวจช่องปากประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ การทาฟลูออไรด์วานิชป้องกัน
ฟันผุและเด็กที่มีฟันผุได้รับการส่งต่อรักษากับทันตะบุคคลากรอย่างเหมาะสม
๘.๕ เด็กแรกเกิด ๐-๕ ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๘๕
๘.๖ ลดอัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี น้อยกว่าร้อยละ ๒๕
๘.๗ ลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ๑๕-๑๙ ปี น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๘.๘ หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน ร้อยละ ๖๐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๕ ต่อปี
๘.๙ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า ๒,๕๐๐กรัม ทุกราย
๘.๑๐ หญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอดได้รับบริการติดตามเยี่ยมตามเกณฑ์ทุกราย


>