กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

สำนักงานเทศบาลตำบลุท่งหว้า

1.นายสมุทร สมัยอยู่
2.นายสำราญ ช่วยหา
3.นางสมศรี มานะกล้า
4.นางวัลลีเกสง่า
5.นางมีย๊ะสมัยอยู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ อสม.น้อย จำนวน 70 คน มีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธีและเหมาะสม

อสม.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสมร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้อสม.น้อย จำนวน 70 คน กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้

อสม.น้อย จำนวน 70 คนสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้

0.00
3 3.เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้

ชุมชนหมู่ที่ 3 ค่า HI CL มีค่าเท่ากับ 0

0.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาโดยตลอดเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งทุกฝ่ายได้ข่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดสตูลยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสตูลมีสถานการณ์ความรุนแรงของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในทุกอำเภอจากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยากลุ่มงานควบคุมโรคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมทางระบาดวิทยาในวันที่ 1 มกราคม 3-30 พฤศจิกายน 2560 มีรายงานผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกท้ั้งหมด 66 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 21.07 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 3.03 มีการระบาดทุกอำเภอ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอมะนัง อัตรป่วยเท่ากับ 45.11 ต่อประชากรแสนคนรองลงมา คือ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอท่าแพ อำเภอเมือง อำเภอละงู อำเภอควนโดน อัตราป่วยเท่ากับ 42.30 ,42.05 ,20.44,11.31,8.75,และ 7.73 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีทางกีฎวิทยา จากกลุ่มประเมินของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI,CI สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและต่อเนื่องต่อไป (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ : 2560) และส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมา คืออายุ 5-9 ปี และ 15-24 ปี เนื่องจากจังหวัดสตูลมีลักษณะภูมิประเทศแบบมรสุมเขตร้อนซึ่งจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝน เพราะง่ายต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลายซึ่่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลียนแนวคิดในการแก้ปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้แก่เยาชนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหาซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและส่ิ่งแวดล้อม ดังน้ันการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภาระกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และชักนำให้ประชาชน องค์กร ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ ดังนั้นหมู่ที่ 3 บ้านในบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน เพื่อให้กิจกรรมดำเนินการต่อเนื่องด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการและชุมชนต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 31/03/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสมนาคุณวิทยากร อบรมให้ความรู้3ชั่งโมงๆละ300 บาท =900 บาท
อบรมให้ความรู้2ชั่งโมงๆละ
300 บาท = 600 บาท -ค่าของที่ระลึกสำหรับประธานในการเปิดพิธี= 200 บาท -อาหารกลางวันของผู้เข้าร่วมโครงการ 70 คนๆละ50 บาท =3,500 บาท -อาหารว่าง(เช้า) ของผู้เข้าร่วมโครงการ 70 คนๆละ25 บาท= 1,750 บาท -อาหารว่าง(บ่าย)ของผู้เข้าร่วมโครงการ70 คนๆละ25 บาท = 1,750 บาท -จ้างเหมาทำประกาศนียบัตรจำนวน70 แผ่นๆละ 25 บาท = 1,750 บาท
-วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
สมุด,ปากกา,แฟ้ม70 ชุดๆละ 30 บาท = 2,100บาท ปากกาเคมี 10 ด้าม *20 บาท=200 บาท
กระดาษปรู๊พ 2โหล
60 บาท= 120 บาท กระดาษสีแข็งหน้าเดียว (ป้ายชื่อ)
5 แผ่น12 บาท = 60 บาท ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.20x2.40 ม. จำนวน 1 ป้าย= 500 บาท ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารแบบประเมินผลโครงการ 70 คน 1 บาท= 70 บาท แบบทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการ70 คน* 1 บาท = 70 บาท
แบบทดสอบหลังโครงการ 70 คน* 1 บาท = 70 บาท กระดาษแข็งสี 4 แผ่น* 12 บาท = 48 บาท
เชือกขาวแดง 1 ม้วนใหญ่70 บาท=70 บาท *ทุกรายการถั่วเฉลี่ยได้ -อุปกรณ์สาธิตการทำนวัตกรรมยาหม่องสมุนไพรไล่ยุง ประกอบด้วย ขี้ผึ้ง 100 g , น้ำมันยูคาลิปตัส 50 g, หัวไพร 1 ขีด การบูร 50 gพิมเสน 50 g, น้ำมันหนอนตายหยาก 30 g แวกซ์ 60 g , เมนทอล 40 g ขวดพลาสติก ขาว ขุ่น 100 ใบ จำนวน 2 ชุดๆละ 700.-บาท รวมเป็นเงิน 1,400.-บาท ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้ -ป้ายไวนิลเดินรณรงค์ขนาด1.20x2.40 ม.จำนวน 1 ป้าย= 500 บาท -อุปกรณ์เดินรณรงค์แต่งกายเรียนแบบตัวยุงประกอบด้วย - ถ้วยโฟม2 โหล30 บาท =60 บาท - ถุงดำขนาด 2428 1 โหล50 บาท=50 บาท - ถุงดำขนาด33341 โหล70 บาท =70 บาท - กระดาษขาว-เทา 5 แผ่น12 บาท = 60 บาท - กาวย่น ขนาด 1.5 5 ม้วน*30 บาท=150 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,048.-บาท ทุกรายการถัวเฉลียได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม.น้อยมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนในชุมชนได้
  2. อสม.น้อยสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน และสามารถควบคุมโรคด้วยตนเองให้กับประชาชนในชุมชนได้
  3. อสม.น้อยสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16048.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,048.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.น้อยมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนในชุมชนได้
2. อสม.น้อยสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีป้องกัน และควบคุมโรคด้วยตนเองให้กับประชาชนในชุมชนได้
3. อสม.น้อยสามารถกำจัดแหล่่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนได้
4. อสม.น้อยได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>