กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กลุ่มงานทัตกรรม โรงพยาบาลทุ่งหว้า

หน่วยงานบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุเป็นโรคในช่องปากที่แพร่หลายโรคหนึ่งของประชากรทั่วโลก โรคนี้จะเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายทุกสถานภาพทางเศรษฐกิจและทุกอายุ แต่ในวัยเด็กจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าในวัยผู้ใหญ่ โรคฟันผุเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคไปอย่างช้าๆ และต่อเนื่องถ้าไม่ได้รับการตรวจและรักษาในระยะแรกๆ แล้วโรคก็จะลุกลามต่อไปจนกระทั่งถึงจุดที่เกิดพยาธิสภาพขึ้นอยู่กับเนื้อเยื่อปลายรากฟันและรอบรากฟัน ซึ่งทำให้มีความยุ่งยากในการรักษาเพื่อจะอนุรักษ์ฟันนันไว้ และมักจะต้องได้รับการรักษาด้วยการถอนออกในที่สุด เด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่ฟันน้ำนมขึ้นมาครบทุกซี่ในช่องปากปัญหาที่พบของเด็กวัยนี้คือโรคฟันผุทำให้มีการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด มีผลต่อการบดเคี้ยวอาหารการพัฒนาของขากรรไกรตลอดจนการเรียงตัวของฟันถาวรที่ึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ดังนั้นการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญควรเร่ิมต้นตั้งแต่เด็กเพื่อเติบโตเปนผู้ใหญ่ที่มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป (กองทันตกรรมกระทรวงสาธารณสุข,2551)
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 ของสำนักงานทันตสาธารสุขกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2555) พบว่าเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีแนวโน้มการปราศจากโรคฟันผุเพ่ิมขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 6 พ.ศ.2550) โดยพบว่าจากเดิมในปี พ.ศ.2550 เด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 38.6 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 19.36 ปราศจากฟันผุในฟันน้ำนม โดยในปี พ.ศ.2555 เด็กปราศจากโรคฟันผุเพ่ิมขึ้น โดยพบว่าเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 48.3 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 21.5 ปราศจากฟันผุในฟันน้ำนม ซึ่งจากการศึกษาของชุติมา ไตรรัตน์วรกุล (2554) พบว่า เด็กที่มีฟันน้ำนมผุจะมีโอกาสการเกิดฟันผุในฟันแท้เพิ่มขึ้นด้วย โดยปัญหาสำคัญที่ยังต้องการการดูแลเพิ่มเติม คือ เรื่องการแปรงฟัน เพราะผู้ปกครองของเด็ก 3 ปี ถึงร้อยละ 55.8 ยังปล่อยให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเอง นอกจากนี้การดื่มนมเป็นปัจจัยสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้แม้ว่าโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะจัดนมจืดให้แก่เด็กแล้วก็ตาม แต่ก็พบว่าเด็กเล็กอายุ 3 ปีและ 5 ปียังดื่มนมหวานและนมเปรี้ยวเมื่ออยู่ที่บ้าน สูงถึงร้อยละ 48.9 และ ร้อยละ 49.9 ตามลำดับ รวมทั้งยังมีการใช้ขวดนมอยู่ถึงร้อยละ 39.4 ในเด็ก 3 ปี ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุแล้ว ยังมีโอกาสเกิดความผิดปกติของการสบฟันในอนาคต (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2555)
จากการศึกษาสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 – 5 ปี พบว่าสาเหตุของปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นในเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครอง เช่น การให้เด็กหลับคาขวดนม การให้เด็กอมลูกอมเป็นประจำและผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่ดูแลทันตสุขภาพ อีกทั้งความเชื่อ และทัศนคติของผู้ปกครองก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กกลุ่มนี้ เช่น ผู้ปกครองบางคนมีความเชื่อว่าฟันน้ำนมไม่มีความสำคัญ เมื่อฟันผุควรถอนทิ้งไม่ต้องรักษา ซึ่งแท้จริงแล้วฟันน้ำนมมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของใบหน้าช่วยให้ฟันแท้เจริญเติบโตได้ตามปกติและขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากเด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนดจะทำให้มีปัญหากับการเคี้ยวอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กตามมาตามจำนวนฟันผุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีฟันผุมากกว่าเด็กโภชนาการปกติ นอกจากนี้โรคฟันผุยังนำไปสู่ปัญหาการติดเชื้อในช่องปาก เด็กที่มีฟันน้ำนมผุอย่างรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาจนเหลือแต่รากฟันติดแน่นอยู่ในช่องปากจะเป็นที่สะสมเชื้อโรคที่สามารถนำไปสู่โรคที่มีความรุนแรงที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การอักเสบของลิ้นหัวใจ (ปริญญา จิตอร่าม และกุลนาถ มากบุญ, 2557) จะเห็นได้ว่าปัญหาของฟันน้ำนมผุในเด็กมีความเกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้านร่างกาย โดยปัญหาดังกล่าวมีผลมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของ
ผู้ปกครองโดยตรง ดังนั้นผู้ปกครองจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน คือ การส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อลดโอกาสการเกิดฟันผุในฟันแท้
ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลทุ่งหว้า จึงจัดทำโครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ ในรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนได้ด้วยตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน

1.ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 มีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน

0.00
2 2.เพื่อบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน

2.ได้กิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ของเด็กก่อนวัยเรียน

0.00
3 3.เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน

3.ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการได้รับความรู้

0.00
4 4.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนได้ด้วยตนเอง

4.ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการได้รับความรู้

0.00
5 5.เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

5.เด็กก่อนวัยเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง ของเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจเฉลี่ยต่อโครงการในระดับมากขึ้นไป (คะแนนเฉลี่ย มากกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5 )

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 92
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/03/2018

กำหนดเสร็จ 09/03/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ งบประมาณ 27,940.-บาท มีรายละเอียดดังนี้ 1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.20x2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500.-บาท 2.อุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน (แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน) 20.-บาท จำนวน 92 คน เป็นเงิน 1,840.-บาท 3.ค่าวัสดุสีเทียน 20.-บาทx50 กล่อง เป็นเงิน 1,000.-บาท 4.ค่าดินน้ำมัน 10.-บาทx30 ก้อน เป็นเงิน 300.-บาท 5.ึค่าจ้่างเหมาถ่ายเอกสาร 500.-บาท 6.ค่าวัสดุทำสื่อทันตสุขศึกษา เป็นเงิน 1,000.-บาท 7.ค่าอาหารว่าง 25.-บาทx80 คน x2 มื้อ เป็นเงิน 4,000.-บาท 8.ค่าอาหารกลางวัน 50.-บาทx80 คน เป็นเงิน 4,000.-บาท 9.ค่าอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน (แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน) 40.-บาทx80 คน เป็นเงิน 3,200.-บาท 10.ค่าสมุดบันทึกการแปรงฟัน 10.-บาทx80เล่ม เป็นเงิน 800.-บาท 10.ป้ายไวนิลกิจกรรมหนูน้อยฟันดี 1.20x2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500.-บาท 11.ค่าอาหารว่าง 25x80 คนx2 มื้อ เป็นเงิน 4,000.-บาท 12.ค่าอาหารกลางวัน 50.-บาทx80 คน เป็นเงิน 4,000.-บาท 13.ค่าวัสดุสำนักงาน 2,300.-บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 27,940.-บาท (-สองหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน-) *ทุกรายการถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กก่อนวัยเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก
  2. ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนได้ด้วยตนเอง
  3. เด็กก่อนวัยเรียนมีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27940.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,940.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กก่อนวัยเรียน ครู้ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก
2.ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนได้ด้วยตนเอง
3.เด็กก่อนวัยเรียนมีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็เล็กและที่บ้าน


>