กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า รหัส กปท. L8009

อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มงานทัตกรรม โรงพยาบาลทุ่งหว้า
กลุ่มคน
หน่วยงานบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
3.
หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุเป็นโรคในช่องปากที่แพร่หลายโรคหนึ่งของประชากรทั่วโลก โรคนี้จะเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายทุกสถานภาพทางเศรษฐกิจและทุกอายุ แต่ในวัยเด็กจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าในวัยผู้ใหญ่ โรคฟันผุเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคไปอย่างช้าๆ และต่อเนื่องถ้าไม่ได้รับการตรวจและรักษาในระยะแรกๆ แล้วโรคก็จะลุกลามต่อไปจนกระทั่งถึงจุดที่เกิดพยาธิสภาพขึ้นอยู่กับเนื้อเยื่อปลายรากฟันและรอบรากฟัน ซึ่งทำให้มีความยุ่งยากในการรักษาเพื่อจะอนุรักษ์ฟันนันไว้ และมักจะต้องได้รับการรักษาด้วยการถอนออกในที่สุด เด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่ฟันน้ำนมขึ้นมาครบทุกซี่ในช่องปากปัญหาที่พบของเด็กวัยนี้คือโรคฟันผุทำให้มีการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด มีผลต่อการบดเคี้ยวอาหารการพัฒนาของขากรรไกรตลอดจนการเรียงตัวของฟันถาวรที่ึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ดังนั้นการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญควรเร่ิมต้นตั้งแต่เด็กเพื่อเติบโตเปนผู้ใหญ่ที่มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป (กองทันตกรรมกระทรวงสาธารณสุข,2551) จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 ของสำนักงานทันตสาธารสุขกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2555) พบว่าเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีแนวโน้มการปราศจากโรคฟันผุเพ่ิมขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 6 พ.ศ.2550) โดยพบว่าจากเดิมในปี พ.ศ.2550 เด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 38.6 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 19.36 ปราศจากฟันผุในฟันน้ำนม โดยในปี พ.ศ.2555 เด็กปราศจากโรคฟันผุเพ่ิมขึ้น โดยพบว่าเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 48.3 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 21.5 ปราศจากฟันผุในฟันน้ำนม ซึ่งจากการศึกษาของชุติมา ไตรรัตน์วรกุล (2554) พบว่า เด็กที่มีฟันน้ำนมผุจะมีโอกาสการเกิดฟันผุในฟันแท้เพิ่มขึ้นด้วย โดยปัญหาสำคัญที่ยังต้องการการดูแลเพิ่มเติม คือ เรื่องการแปรงฟัน เพราะผู้ปกครองของเด็ก 3 ปี ถึงร้อยละ 55.8 ยังปล่อยให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเอง นอกจากนี้การดื่มนมเป็นปัจจัยสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้แม้ว่าโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะจัดนมจืดให้แก่เด็กแล้วก็ตาม แต่ก็พบว่าเด็กเล็กอายุ 3 ปีและ 5 ปียังดื่มนมหวานและนมเปรี้ยวเมื่ออยู่ที่บ้าน สูงถึงร้อยละ 48.9 และ ร้อยละ 49.9 ตามลำดับ รวมทั้งยังมีการใช้ขวดนมอยู่ถึงร้อยละ 39.4 ในเด็ก 3 ปี ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุแล้ว ยังมีโอกาสเกิดความผิดปกติของการสบฟันในอนาคต (สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2555) จากการศึกษาสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 – 5 ปี พบว่าสาเหตุของปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นในเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครอง เช่น การให้เด็กหลับคาขวดนม การให้เด็กอมลูกอมเป็นประจำและผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่ดูแลทันตสุขภาพ อีกทั้งความเชื่อ และทัศนคติของผู้ปกครองก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กกลุ่มนี้ เช่น ผู้ปกครองบางคนมีความเชื่อว่าฟันน้ำนมไม่มีความสำคัญ เมื่อฟันผุควรถอนทิ้งไม่ต้องรักษา ซึ่งแท้จริงแล้วฟันน้ำนมมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของใบหน้าช่วยให้ฟันแท้เจริญเติบโตได้ตามปกติและขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากเด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนดจะทำให้มีปัญหากับการเคี้ยวอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กตามมาตามจำนวนฟันผุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีฟันผุมากกว่าเด็กโภชนาการปกติ นอกจากนี้โรคฟันผุยังนำไปสู่ปัญหาการติดเชื้อในช่องปาก เด็กที่มีฟันน้ำนมผุอย่างรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาจนเหลือแต่รากฟันติดแน่นอยู่ในช่องปากจะเป็นที่สะสมเชื้อโรคที่สามารถนำไปสู่โรคที่มีความรุนแรงที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การอักเสบของลิ้นหัวใจ (ปริญญา จิตอร่าม และกุลนาถ มากบุญ, 2557) จะเห็นได้ว่าปัญหาของฟันน้ำนมผุในเด็กมีความเกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้านร่างกาย โดยปัญหาดังกล่าวมีผลมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของ ผู้ปกครองโดยตรง ดังนั้นผู้ปกครองจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน คือ การส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อลดโอกาสการเกิดฟันผุในฟันแท้ ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลทุ่งหว้า จึงจัดทำโครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ ในรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนได้ด้วยตนเอง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 มีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. 2.เพื่อบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน
    ตัวชี้วัด : 2.ได้กิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ของเด็กก่อนวัยเรียน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. 3.เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน
    ตัวชี้วัด : 3.ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการได้รับความรู้
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. 4.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนได้ด้วยตนเอง
    ตัวชี้วัด : 4.ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการได้รับความรู้
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 5. 5.เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
    ตัวชี้วัด : 5.เด็กก่อนวัยเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง ของเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจเฉลี่ยต่อโครงการในระดับมากขึ้นไป (คะแนนเฉลี่ย มากกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5 )
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ
    รายละเอียด

    โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ งบประมาณ 27,940.-บาท มีรายละเอียดดังนี้ 1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.20x2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500.-บาท 2.อุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน (แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน) 20.-บาท จำนวน 92 คน เป็นเงิน 1,840.-บาท 3.ค่าวัสดุสีเทียน 20.-บาทx50 กล่อง เป็นเงิน 1,000.-บาท 4.ค่าดินน้ำมัน 10.-บาทx30 ก้อน เป็นเงิน 300.-บาท 5.ึค่าจ้่างเหมาถ่ายเอกสาร 500.-บาท 6.ค่าวัสดุทำสื่อทันตสุขศึกษา เป็นเงิน 1,000.-บาท 7.ค่าอาหารว่าง 25.-บาทx80 คน x2 มื้อ เป็นเงิน 4,000.-บาท 8.ค่าอาหารกลางวัน 50.-บาทx80 คน เป็นเงิน 4,000.-บาท 9.ค่าอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน (แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน) 40.-บาทx80 คน เป็นเงิน 3,200.-บาท 10.ค่าสมุดบันทึกการแปรงฟัน 10.-บาทx80เล่ม เป็นเงิน 800.-บาท 10.ป้ายไวนิลกิจกรรมหนูน้อยฟันดี 1.20x2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500.-บาท 11.ค่าอาหารว่าง 25x80 คนx2 มื้อ เป็นเงิน 4,000.-บาท 12.ค่าอาหารกลางวัน 50.-บาทx80 คน เป็นเงิน 4,000.-บาท 13.ค่าวัสดุสำนักงาน 2,300.-บาท

    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 27,940.-บาท (-สองหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน-) *ทุกรายการถั่วเฉลี่ยได้

    งบประมาณ 27,940.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 2 มีนาคม 2561 ถึง 9 มีนาคม 2561

8.
สถานที่ดำเนินการ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 27,940.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.เด็กก่อนวัยเรียน ครู้ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก 2.ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนได้ด้วยตนเอง 3.เด็กก่อนวัยเรียนมีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็เล็กและที่บ้าน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า รหัส กปท. L8009

อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2561
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า รหัส กปท. L8009

อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 27,940.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................