กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในตลาดสด ประจำปี 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการได้จัดทำโครงการการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนประจำปี 2559 ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งดำเนินกิจกรรมที่ตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานี ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานี ถนนยะรัง และตลาดเทศวิวัฒน์ 1 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการในตลาดสด ไม่ปฏิบัติการตามหลักสุขาภิบาลที่ถูกต้อง จากการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารทางด้านเคมี 390 ตัวอย่าง พบสารปนเปื้อน 60 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15.4 ไม่พบสารปนเปื้อน 330 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 84.6 จากข้อมูลรายงานผล งานระบาดวิทยา เมื่อวันที่ 1 มกราคม – 4 พฤศจิกายน 2560.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยที่เป็นโรคอุจจาระร่วง 958 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 767.97 ต่อประชากรแสนคน โรคบิดรวม (05,06) 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.40 ต่อประชากรแสนคน โรคอาหาร เป็นพิษ 48 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 38.48 ต่อประชากร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการขาดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นอกจากนี้ผู้ประกอบการในตลาดสดมีการใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ฉะนั้นการจัดการควบคุมและป้องกันอาหารให้สะอาดปลอดภัย จึงต้องมีการควบคุมปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้สกปรกได้แก่ ปัจจัยที่ 1 บุคคล ปัจจัยที่ 2 อาหาร ปัจจัยที่ 3 ภาชนะอุปกรณ์ ปัจจัยที่ 4 สถานที่ และปัจจัยที่ 5 สัตว์ แมลงนำโรค
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในตลาดสด ประจำปี 2561 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อนและสะอาดปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องอันตรายจากการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อน

ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 300 คน ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องอันตรายจากการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อน

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร ใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ
  • ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 ไม่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
  • ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการตลาดสดเทศบาล ถนนยะรัง ไม่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมผู้ประกอบการที่จำน่ายอาหารเดือนรอมฎอน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมผู้ประกอบการที่จำน่ายอาหารเดือนรอมฎอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
110150.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมผู้ประกอบการในตลาดสด จำนวน 300 คน โดยมีการจัดอบรม 2 วัน วันละ 150 คน 4. ลงเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมผู้ประกอบการในตลาดสด จำนวน 300 คน โดยมีการจัดอบรม 2 วัน วันละ 150 คน 4. ลงเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 110,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น
2. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการลดใช้โฟมบรรจุอาหาร
3. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง


>