กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นแบบบูรณาการ “สุขภาพดี ปัญญาดี มีภูมิคุ้มกัน” ประจำปีงบประมาณ 2561

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นแบบบูรณาการ “สุขภาพดี ปัญญาดี มีภูมิคุ้มกัน” ประจำปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

6.00
2 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

9.00

เด็กวัยเรียนและเยาวชน เปนกลุมเปาหมายที่สําคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ ดังพระราชดํารัสของ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชในปเด็กสากล พุทธศักราช 2522 “เด็กเปนผูที่รับชวงทุกสิ่งทุกอยางจากผูใหญ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธํารงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก” การ ลงทุนกับเด็กจึงคุมคามากกวาการลงทุนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเด็กที่มีคุณภาพจะนําไปสูการเปนผูใหญที่มีคุณภาพ และผูใหญที่มีคุณภาพก็ตองมาจากวัยเด็กที่ไดรับการพัฒนาอยางถูกตองและเหมาะสมดวยเชนกัน
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน โดยพบทั้งปัญหาภาวะเตี้ย อ้วน ผอม และภาวะซีด ทั้งนี้ ภาวะเตี้ย มีสาเหตุมาจากการขาดอาหารเรื้อรัง ทำให้เด็กเตี้ย แคระแกร็น ภูมิต้านทานโรคต่ำ เจ็บป่วยบ่อย และมีสติปัญญาต่ำ แตกต่างจากปัญหาภาวะอ้วนที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกาย มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ มีผลนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนตำบลดินจี่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดินจี่ พบว่าแนวโน้มสถานการณ์ของเด็กวัยเรียนในปี 2558, 2559, 2560 มีภาวะเตี้ย ร้อยละ 4.49, 3.67, 3.93 ตามลำดับ (เกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ไม่เกินร้อยละ 10) มีภาวะผอม ร้อยละ 11.48, 12.16, 9.32 ตามลำดับ (เกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ไม่เกินร้อยละ 5) และภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 5.56, 5.97, 6.18 ตามลำดับ (เกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ไม่เกินร้อยละ 10)ถึงแม้ว่าอัตราของภาวะเตี้ย เริ่มอ้วนและอ้วน ในเด็กวัยเรียนของตำบลดินจี่จะต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดตัวชี้วัดเด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 10 แต่แนวโน้มตั้งแต่ปี 2558 ถึง ปี 2560 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และถึงแม้ว่าอัตราของภาวะผอมจะมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงสูงเกินเกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดตัวชี้วัดไว้ไม่เกินร้อยละ 5
ปัญหาโภชนาการขาดและเกินดังกล่าว มีผลต่อการพัฒนาประเทศ ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาสุขภาพ ของคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ รวมทั้งจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราการเกิดน้อย ซึ่งหมายความว่าเด็กต้องแบกรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ด้อยคุณภาพ ประกอบกับภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้เกิดน้ำท่วม หรือภัยแล้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อแหล่งอาหารของชุมชน มีโอกาสเกิดโรคระบาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดถึง 18 ปี จึงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมโดยการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมตามวัยเพื่อสร้างภูมิต้านทานโรคและการมีโครงสร้างร่างกายที่สมบูรณ์
อีกหนึ่งปัญหาที่พบในกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่นก็คือปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากรายงานปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในตำบลดินจี่ พบว่า อัตราการคลอดบุตรในแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 2 ปี (ไม่เกินร้อยละ 10) สูงติดอันดับ 1 ใน 3 ของอำเภอคำม่วง จากข้อมูลรายงาน ปี 2558-2560 คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๗๓, ๑๕.๕๖, ๑๒.๙๐ ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มลดลง และอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า ๑๗ ปี (ไม่เกินร้อยละ ๑๐) ในปี 2558-2560 คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๕๓, ๔.๔๔, ๓.๒๓ ตามลำดับ (ไม่เกินร้อยละ ๑๐) และอัตราเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ในปี 2558-2560 คิดเป็นร้อยละ ๔.๐๘, ๒.๒๒, ๐ ตามลำดับ (ไม่เกินร้อยละ ๗)ซึ่งทุกตัวชี้วัดมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีบางตัวชี้วัดที่ยังสูงเกินเกณฑ์มาตราฐาน จึงต้องมีการพัฒนาการดำเนินงานแก้ไข้ปัญหาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับ พรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ในยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2560-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ว่าด้วย พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร ที่มีเป้าหมาย ในปี 2569 อัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี ไม่เกิน 0.5 ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000 คน และอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ไม่เกิน 25 ต่อประชากรหญิง อายุ 15-19 ปี 1,000 คน ซึ่งต้องมีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
จากสถานการดังที่กล่าวมาข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นแบบบูรณาการ “สุขภาพดี ปัญญาดี มีภูมิคุ้มกัน” ปีงบประมาณ 2561” ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในระดับตำบล ขุมชน โรงเรียน รวมทั้งเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง ส่งเสริมให้วัยเรียนวัยรุ่นมีทักษะชีวิตและพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

6.00 3.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

9.00 5.00

1. เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
2. เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อให้โรงเรียนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไข
ปัญหาเด็กนักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการและปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นในชุมชน
4. เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน
5. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุ < 20 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 350
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน ปีการศึกษาที่ผ่านมา 2จัดทำและเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลเพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ 3ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาในเด็กวัยเรียน
- ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ - พัฒนาระบบข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ให้มีความครอบคลุม ถูกต้อง ทันเวลา - จัดทำระบบการคัดกรอง ส่งต่อ และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุขและคลินิกไร้พุง DPAC 4คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ 5จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายพร้อมด้วยผู้ปกครอง 6ติดตามภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนกลุ่มเป้าหมายต่อเนื่องทุกเดือนหลังได้รับการอบรม 7ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการที่รุนแรง พร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐาน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 15 คน x 25 บาท x 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,875 บาท - ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าประชุม จำนวน 120 คน x 100 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 13,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15075.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก 2.2 จัดทำและเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลเพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
2.3 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาในเด็กวัยเรียน
- ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ - สำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ - แนวทางการให้บริการคลินิกให้คำปรึกษา คลินิกวัยรุ่นวัยใส - พัฒนาช่องทางการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อ Social Media 2.4 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ 2.5 จัดอบรมให้ความรู้เพิ่มทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด สุราและบุหรี่แก่เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
2.6 จัดบริการให้คำปรึกษา คลินิกวัยรุ่นวัยใส ใน รพ.สต.ดินจี่ และช่องทางสื่อสาร Social Media เช่น Line, Facebook - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จาก โรงเรียนบ้านดินจี่และโรงเรียนนักธุรกิจ จำนวน 200 คน x 25 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จาก โรงเรียนบ้านโพนแพง
จำนวน 150 คน x 25 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 3,750 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11150.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 3.2 มอบใบประกาศเชิดชูเกียรติยกย่องให้เป็นนักเรียนต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายที่สามารถควบคุมภาวะโภชนาการให้อยู่ในระดับสมส่วนตามเกณฑ์ได้ดีเยี่ยม เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับนักเรียนคนอื่นๆและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-สรุปผลการดำเนินงานโครงการ -เชิดชูเกียรติยกย่องให้เป็นนักเรียนต้นแบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ.
2. นักเรียนที่มีภาวะเริ่มและอ้วนมีน้ำหนักลดลง
3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ
4. วัยรุ่น วัยใส มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเพศวิถี และมีทักษะในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอย่างเข้าใจและถูกต้อง และสามารถลดปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ในพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา


>