กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองลำพูน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หมู่บ้านจัดการสุขภาพเทศบาลเมืองลำพูน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองลำพูน

ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน

17 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

60.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

30.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

60.00 65.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

30.00 25.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

40.00 35.00
4 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2561

ชื่อกิจกรรม
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2561
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มเรื่องการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุแบบองค์รวมผ่านคู่มือที่เนื้อหาประกอบด้วย

- การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว - ยากับการหกล้มในผู้สูงอายุ - การปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย 2. จัดโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และการเดิน (กรณีผู้สูงอายุที่มีท่าเดินและการทรงตัวที่บกพร่อง) ณ ห้องกิจกรรมบำบัด ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน

งบประมาณ ค่าจัดทำคู่มือการออกกำลังกายและการปรับสภาพแวดล้อม จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน1,500บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,500.- บาท (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน)

วันที่ดำเนินการ 21 สิงหาคม 2561

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุแบบองค์รวม ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทรงตัวและการเดินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 หลังได้รับโปรแกรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วย เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูน ประจำปี งบประมาณ 2561

ชื่อกิจกรรม
สร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วย เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูน ประจำปี งบประมาณ 2561
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์โครงการในเขตเทศบาลเมืองลำพูน 2.ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขในการประชาสัมพันธ์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลเมืองลำพูนได้รับทราบ 3.จัดเตรียมแผนการจัดกิจกรรมค่ายเบาหวาน – ความดันโลหิตสูงโดยจะจัดกิจกรรมการเข้าค่าย 1ครั้ง /ปีงบประมาณ
4.จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน – ความดันโลหิตสูงโดยแบ่งผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมกิจกรรม คือ กลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงจำนวน 40 คน

งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คนมื้อละ 25 บาท × 2 มื้อเป็นเงิน 2,000บาท 2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คนมื้อละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน3,000 บาท 3.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน500บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1คน คนละ 300 บาท/ชั่วโมง ×6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท 5. ค่าจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพและคู่มือความรู้โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 เล่ม เล่มละ 20บาท เป็นเงิน 800 บาท
6.ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน1,631 บาท รายละเอียดดังนี้ - กระดาษถ่ายเอกสาร A470 แกรม 2 รีมรีมละ 105 บาท เป็นเงิน 210 บาท - กระดาษการ์ดสี A4 120แกรม3 ห่อห่อละ 42 บาทเป็นเงิน 126 บาท - สมุดปกอ่อน 40 เล่ม เล่มละ 8 บาท เป็นเงิน 320บาท - ปากกาลูกลื่น 40 ด้าม ด้ามละ 5 บาท เป็นเงิน 200 บาท -ฟิวเจอร์บอร์ด 65 × 122 ซม.10 แผ่นแผ่นละ 48 บาทเป็นเงิน 480 บาท - เทปโฟมกาวสองหน้า 5 เมตร จำนวน 1 ม้วนม้วนละ 188บาท เป็นเงิน 188 บาท - ซองขาวพับ 4 ครุฑ เบอร์ 9/100 2 มัด มัดละ 35 บาทเป็นเงิน70 บาท

วันที่ดำเนินการ เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยความดันเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมได้คะแนนจากการวัดความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ (KAP) หลังการเข้าร่วมกิจกรรม (Post-test) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้ป่วยความดันเบาหวานมีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9731.00

กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนส่งเสริม การดำเนินงาน หมู่บ้านจัดการ สุขภาพ ประจำปี 2561

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนส่งเสริม การดำเนินงาน หมู่บ้านจัดการ สุขภาพ ประจำปี 2561
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การสร้างแกนนำหมู่บ้านจัดการสุขภาพ 1.ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ 2.ชี้แจงหลักเกณฑ์และแบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพแก่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนเพื่อประเมินตนเองก่อนการนำเสนอผลการดำเนินงาน 3.จัดเวทีนำเสนอแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนทั้ง 17 ชุมชน

งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 คนคนละ 75 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท 2.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 คนคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3,500 บาท
3.ค่าตอบแทนคณะกรรมการการตัดสิน จำนวน 3 คน คนละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าสนับสนุนการนำเสนอการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ17ชุมชน ชุมชนละ 1,000 บาทเป็นเงิน 17,000 บาท 5.ค่าป้ายเป็นเงิน 500 บาท 6.ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน510 บาท - ปากกาเคมี 2 หัว ตราม้า จำนวน 5 ด้ามละ 14 บาทเป็นเงิน 70 บาท - เทปกาวย่น จำนวน 2 ม้วน ม้วนละ 35 บาท เป็นเงิน 70 บาท - กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 20 แผ่น แผ่นละ 3 บาทเป็นเงิน 60 บาท - ใบประกาศ จำนวน 1 ห่อ เป็นเงิน 240 บาท - ซองขาว จำนวน 2 มัด มัดละ 35 บาทเป็นเงิน 70 บาท รวมเป็นเงิน28,560 บาท
(สองหมื่นแปดพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)

วันที่ดำเนินการ วันที่ 7 มิถุนายน 2561

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หมู่บ้าน/ชุมชนมีการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนอย่างน้อยชุมชนละ 3 กิจกรรม ประเมินจากการนำเสนอผลการดำเนินงานของหมู่บ้านจัดการสุขภาพและชมรมสร้างสุขภาพ 2.ร้อยละ 100 ของหมู่บ้าน/ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนผ่านเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,791.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม ไม่เกิดความพิการ
2.ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติทั้งร่างกาย จิตใจเเละสังคม
3.ผู้ป่วยโรคความดันเบาหวานเกิดความตระหนักและเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่จะเกิดขึ้นต่อไป
4.ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนผ่านเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง


>