กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและผู้สัมผัส ตำบลปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สวี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและผู้สัมผัส ตำบลปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สวี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแพรก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแพรก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันทางด้านการเกษตร มีการนำสารเคมรต่างๆ มาใช้เป็นจำนวนมาก ทั้งสารกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งหรือเพิ่มผลผลิตทำให้เกษตรกรต้องสัมผัสกับสารเคมีอยู่เป็นประจำ ส่งผลให้เกษตรกรและผู้สัมผัสอื่นรวมถึงผู้บริโภคพืชผักและผลไม้ที่มีสารเคมีเจือปนมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีเป็นอย่างมากทั้งที่ส่งผลกระทบอย่างเฉียบพลันและที่สะสมในกระแสโลหิตเพื่อออกอาการในระยะยาว ซึ่งเกษตรกรและผู้สัมผัสจำเป็นต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี การปฐมพยาบาล เมื่อได้รับอันตรายจากการใช้สารเคมีชนิดเฉียบพลัน ตลอดจนการปฏิบัติในการนำพืชผักผลไม้มารับประทานอย่างปลอดภัย เพื่อช่วยลดอันตรายจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อีกทั้งควรได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อให้ทราบถึงสภาวะสุขภาพของตนเองเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม
ตำบลปากแพรกมีประชากรส่วนหนึ่งประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ 80 ครัวเรือนและนอกเหนือจากเกษตรกรที่ใช้สารเคมีโดยตรงยังมีผู้สัมผัสที่บริโภคผักและผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างทำให้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพในประชาชนทั่วไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแพรก จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและผู้สัมผัสในตำบลปากแพรก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและผู้สัมผัส ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสในตำบลปากแพรก ได้รับความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ตลอดจนการตรวจสุขภาพเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผู้สัมผัส มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันตนเองจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

จำนวนเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรม

100.00
2 เพื่อให้เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีผลต่อสุขภาพ

จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีผลต่อสุขภาพ

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเกษตรกรและผู้สัมผัสในเรื่องการใช้สารเคมี การป้องกันตนเองจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การปฐมพยาบาลเมื่่อได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเกษตรกรและผู้สัมผัสในเรื่องการใช้สารเคมี การป้องกันตนเองจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การปฐมพยาบาลเมื่่อได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ ๆละ 60 บาท และอาหารว่าง 2 มื้อๆ ละ 30 บาท ในการจัดอบรมเกษตรกรและผู้สัมผัส จำนวน 100 คน จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร (1 วัน ชม.ละ 600 บาท วันละ 5 ชม.) เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรและผู้สัมผัสในเรื่องการใช้สารเคมี จำนวน 100 คน ได้รับการฝึกอบรมการป้องกันตนเองจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การปฐมพยาบาลเมื่่อได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำทะเบียนเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อประเมินความครอบคลุมการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อประเมินความครอบคลุมการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำทะเบียนเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อประเมินความครอบคลุมการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 บริการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรและผู้สัมผัส

ชื่อกิจกรรม
บริการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรและผู้สัมผัส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บริการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรและผู้สัมผัส จำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 บริการแจ้งค่าและอธิบายความหมายพร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
บริการแจ้งค่าและอธิบายความหมายพร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บริการแจ้งค่าและอธิบายความหมายพร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับความรู้ในการปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
2. เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรองหารระดับสารเคมีตกค้างในเลือด และทราบผลระดับความเสี่ยงของตนเอง
3. กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลและสามารถดูแลตนเองได้


>