กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง ตำบลปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ 2561

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สวี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง ตำบลปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สวี

โรงพยาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแพรก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคอ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาพลาญที่ผิดปกติทำให้มีไขมันสะสมในช่องท้องเป็นปริมาณมากเกิดเป็น ภาวะอ้วนลงพุง ซึ่่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โดยรอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เซ็นติเมตร จะเพิมโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานสูง 3 หรือ 5 เท่า เป็นกลุ่มโรคเรื่้อรังที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและส่งผลกระทบทั่วโลก ปั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชาชน ทำให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome เป็นเงินจำนวนมาก จากผลการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในปี พ.ศ.2548 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 17 หรือประมาณ 41 ล้านคน สำหรับในประเทศไทยจากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนกงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2552 พบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ของโรคหัวใจขาดเลือดพบอัตราป่วยเพิ่มขึ้น 33.44 ต่อประชากรหนึ่งแสนคนหรือร้อยละ 10.53 ส่วนโรคเบาหวานพบอัตราป่วยเพิ่มขึ้น 86.08 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน หรือร้อยลุ 13.23
สำหรับผลการตรวจคัดกรองโรค ของประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปในตำบลปากแพรก พบภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 10.29 พบกลุ่มภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานร้อยละ 1.40 นอกจากนั้นยังพบว่าภาวะเสี่ยงที่มีภาวะรอบเอวเกินจำนวนร้อยละ 40.20 และ BMI เกินค่ามาตรฐาน ร้อยละ 18.89 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่เกิดจากวิถีชีวิต ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเร็ว ทำให้ค่านิยม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ถูกต้อง นิยมบริโภคอาหารนอกบ้าน อาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด อาหารสำเร็จรูป การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน รับประทานอาหารที่มีรสหวาน รสเค็ม อาหารที่มีไขมันสูง บริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดเรื้องรังซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคดังกล่าว
จากสถาการณ์ข้างต้น จึงเป็นเรื่องด่วนอย่างยิ่งที่หน่วยงานสาธารณสุขร่วมกับ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องสร้างความเข้มแข็งและร่วมมือในการรณรงค์ทำการส่งเสริมและป้องกันภัยร้ายจากกลุ่มโรค (Metabolic syndrome) ครอบคลุมในทุกกลุ่มประชากร เนื่องจากโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะกับวัยและวิถีชีวิต ร่วมกับการกินผักลดอาหารประเภทแป้งไขมัน การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามรอยวิถีชีวิตไทยในอดีตจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มอายุมากกว่า 35 ปี ที่ยังไม่ป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแพรก ได้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ที่มุ่งหวังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพและจัดการสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง ปี 2561

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค Metabolic syndrome

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค Metabolic syndrome

50.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับค่าปกติดัชนีมวลกาย สามารถคำนวณดัชนีมวลกายและวัดรอบเอวได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับค่าปกติดัชนีมวลกาย สามารถคำนวณดัชนีมวลกายและวัดรอบเอวได้อย่างถูกต้อง

50.00
3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการเลือกรับประทานอาหารตามหมวดหมู่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และสามารถบอกปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้ รวมทั้งสามารถวางแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำหนักในให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการเลือกรับประทานอาหารตามหมวดหมู่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และสามารถบอกปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้ รวมทั้งสามารถวางแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำหนักในให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

50.00
4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและสามารถประยุกต์วิธีการออกกำลังกายได้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองได้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและสามารถประยุกต์วิธีการออกกำลังกายได้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองได้

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องโรค Metabolic syndrome (การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ไขมันสูง)

ชื่อกิจกรรม
จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องโรค Metabolic syndrome (การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ไขมันสูง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน วันละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท และอาหารว่างวันละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท ในการอบรมกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชม.ละ 600 บาท วันละ 6 ชม.จำนวน 2 วัน จำนวน 7,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องโรค Metabolic syndrome (การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ไขมันสูง) จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค Metabolic syndrome
2. กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
3. มีผู้ป่วยโรคMetabolic syndrome ลดลง


>