กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังขนาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีมีสุขภาพดี ห่วงใยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังขนาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านศาลเจ้าโพรงไม้

หมู่ที่ 1–7 ตำบลวังขนาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตําบลวังขนาย ในปีงบประมาณ ๒๕60 พบว่า สาเหตุการตายอันดับ ๒ ของประชากรคือโรคมะเร็งระบบต่างๆ คิดเป็น ๑๒๕.๒๓ต่อแสน ประชากร ในจํานวนนี้ เป็นผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๒ ราย จากข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกสะสมตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕9 จนถึงปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ๔๐.๗๖ ของหญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปี ซึ้งไม่ถึง ๘๐% สาเหตุที่ผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุข กําหนด โดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มา รับบริการ อาจมีสาเหตุจากผู้หญิงไทยมีความละอายุต่อเรื่องทางเพศ และมีความอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรีที่อยู่ในชนบทจะมีความอดทนและความละอาย ความไม่กล้า เช่น เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของ อวัยวะเพศจะไม่กล้าปรึกษาใคร ถึงเจ็บปวดก็มีความอดทน ปล่อยไปเรื่อยๆอาจทําให้อาการของโรคอยู่ใน ขั้นรุนแรง รักษาไม่หาย งานการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมจึงเป็นงานที่จะต้องใช้การบูรณาการ การทํางานเชิงรุกในพื้นที่อย่างจริงจัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านศาลเจ้าโพรงไม้ มีความตระหนักและเห็นความสําคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทําโครงการสตรีมีสุขภาพดี ห่วงใยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม โดยร่วมกับภาคีสุขภาพในตําบล เพื่อให้เกิดระบบการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็ง ปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อส่งเสริมและป้องกันตนเองจาก โรคมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80
2. เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรกและผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษา ลดอัตราการเกิดโรคในระยะอันตราย
3. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,383 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
4. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์ (Pap smear)ร้อยละ80

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,583
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมแกนนำสตรี อายุ 30-60 ปี ในตำบลวังขนาย

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมแกนนำสตรี อายุ 30-60 ปี ในตำบลวังขนาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลอบรมแกนนำสุขภาพดี ห่วงใยสตรีเรื่องมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5x3 เมตร ราคา ตรม.ละ 150 บาท เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 200 คน จำนวน
    ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท  เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 200 คน
      จำนวน 1 มื้อๆละ ๕๐ บาท   เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมงๆละ 6๐๐ บาท  จำนวน 2 คนๆ ละ
       3  ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าจัดทำแบบบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง  จำนวน 200 ชุดๆละ 5 บาท
      เป็นเงิน 1,000บาท -เอกสารความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก จำนวน200 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน  2,000
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32275.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายใน ชุมชนให้มารับการตรวจคัดกรองตามโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายใน ชุมชนให้มารับการตรวจคัดกรองตามโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ให้ความรู้ และเชิญชวนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ขนาด ๑.๕ x 3 เมตร  ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 14 ผืน เป็น เงิน 9,450 บาท
  • ค่าจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้กับสตรีอายุ 30-60ปี มาตรวจมะเร็งปากมดลูก จำนวน  1,383 แผ่นๆละ 2 บาท  เป็นเงิน 2,766 บาท -ค่าจ้างเหมาน้ำมันรถสำหรับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และเชิญชวนมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม   ครั้งละ 500 บาท จำนวน 8 ครั้ง                        เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ในการออกคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์  (Pap smear) ในชุมชน สำหรับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. จำนวน 20 คน   จำนวน 8 ครั้ง นอกเวลาราชการ
      -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาทจำนวน 8 มื้อ
         เป็นเงิน 4,000 บาท
    -  ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม 20คนๆละ 1 มื้อๆละ  ๕๐ บาท จำนวน 8 มื้อ
        เป็นเงิน 8,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28216.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,491.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โรคมะเร็งเต้านมตระหนักและตื่นตัว มารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
๒.สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเต้านม อย่างทั่วถึง
๓.เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรก มีการส่งต่อและรักษาผู้ป่วยที่พบผลผิดปกติ อย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันท่วงที
๔.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคในระยะอันตราย ลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกให้น้อยลง
๕.เพื่อประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
๖.เพื่อให้ประชาชนไม่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรอง


>