กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อ้างถึงประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
พ.ศ.2557 ตามระเบียบข้อ7 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และข้อ 7 (1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับ 10.67 ล้านคน คิดเป็น 14 % ของประชากรทั้งหมดสำหรับผู้สูงอายุที่รับผิดชอบในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดปัตตานี ทั้งหมด
3 ตำบล รวมทั้งสิ้นจำนวน 4,558 คน คิดเป็น17.68 % ของประชากรทั้งหมด โดยสามารถ แบ่งปะเภทผู้สูงอายุตาม
จำนวนประชากร 60ปีขึ้นไป
แยกรายตำบล
(คน) ประเภทผู้สูงอายุ
กลุ่ม 1 ติดสังคม
สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นและสามารถร่วมกิจกรรมชุมชนได้(คน) กลุ่ม 2 ติดบ้าน
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
(คน) กลุ่ม 3 ติดเตียง
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด

(คน)
1.ตำบลจะบังติกอ905คน
กลุ่ม 1 ติดสังคม
-สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นและสามารถร่วมกิจกรรมชุมชนได้885 คน
-กลุ่ม 2 ติดบ้าน
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน 17คน
- กลุ่ม 3 ติดเตียง
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด3คน
2.ตำบลอาเนาะรู1,467 คน
กลุ่ม 1 ติดสังคม
-สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นและสามารถร่วมกิจกรรมชุมชนได้1,440คน
กลุ่ม 2 ติดบ้าน
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน22 คน
กลุ่ม 3 ติดเตียง
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด 5คน
3.ตำบลสะบารัง 2,186 คน
กลุ่ม 1 ติดสังคม
-สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นและสามารถร่วมกิจกรรมชุมชนได้ 2,133 คน
กลุ่ม 2 ติดบ้าน
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน 38 คน
กลุ่ม 3 ติดเตียง
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด15 คน
รวม 4,558 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นตามแบบคัดกรองการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน(ADL)

1.ร้อยละ 75 ของกลุ่มผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง

2..ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพจิต

3.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้นโดยใช้แบบประเมิน 2Q 9Q

0.00
4 4.เพื่อให้เกิดชมรมผู้สูงอายุและมีกิจกรรมต่อเนื่อง

4.เกิดชมรมผู้สูงอายุอย่างน้อยตำบลละ 1 ชมรม ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 75
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ตรวจประเมิน/คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น และให้ความรู้ รูปแบบจัดนิทรรศการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ตรวจประเมิน/คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น และให้ความรู้ รูปแบบจัดนิทรรศการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 กิจกรรมรณรงค์ตรวจประเมิน/คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น และให้ความรู้ รูปแบบจัดนิทรรศการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน            -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม100คนx25บาทx 3 ตำบลๆละ1ครั้ง เป็นเงิน  จำนวน  7,500 บาท                  -ค่าชุดนิทรรศการความรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุชนิดโรลอัฟไวนิลจำนวน 1ชุด
            ชุดละ  3 อันๆละ 3,000บาท                         เป็นเงิน           จำนวน    9,000  บาท           - ค่าจัดทำคู่มือการบันทึกข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล             จำนวน 75 เล่ม x50 บาท                                                 เป็นเงิน         จำนวน     3,750   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20250.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังและการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังและการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 คน x25บาท/มื้อx2มื้อx3ตำบลๆละ1วัน เป็นเงิน  จำนวน    3,750   บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน 25คนx70 บาท/มื้อ x3ตำบลๆละ1วัน        เป็นเงิน        จำนวน    5,250   บาท
    • ค่าวิทยากร  จำนวน 21 ชั่วโมง x 600 บาท                 เป็นเงิน        จำนวน   12,600  บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 3X1 เมตร (ตรม.ละ250บาท) จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน    จำนวน      750  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์และอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการเช่น กระดาษ A4  กระดาษโรเนียว สมุดบันทึก   ปากกา ฯลฯ                                                       เป็นเงิน        จำนวน    5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27350.00

กิจกรรมที่ 3 3 กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
3 กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

  - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม75คนx25บาท/มื้อ                  เป็นเงิน        จำนวน   1,875  บาท            - ค่าอาหารกลางวัน 75คนx70 บาท/มื้อ               เป็นเงิน        จำนวน   5,250  บาท     - ค่าวิทยากร 3 คน x 600 บาท x5 ชั่วโมง              เป็นเงิน        จำนวน   9,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลได้รับการตรวจคัดกรองประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น ร้อยละ 70
2.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ร้อยละ 95 ของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม
3 ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีไม่ซึมเศร้า ร้อยละ 95 ของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม
4. ผู้สูงอายุมีความตื่นตัว.เกิดชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาล อย่างน้อยตำบลละ1 ชมรม


>