กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนแบบบูรณาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง

1. นางกุหลาบ สิงห์วงษ์

ตำบลคำด้วง จำนวน6หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับสารไอโอดีนให้เพียงพอต่อร่างกาย

 

60.00

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ต้องการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชนจากผลการสำรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์และความครอบคลุมกลือไอโอดีนที่มาตรฐานระดับครัวเรือนเมื่อเทียบกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกยังอยู่ระดับที่ไม่น่าไว้วางใจโรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญเป็นต้นเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะปัญญาอ่อนซึ่งเป้องกันได้พบได้ในทุกกลุ่มอายุแต่ละมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนอายุ2-3 ปีโดยมีผลลดความเฉลียวฉลาดหรือไอคิวของเด็กได้ถึง10-15 จุดซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัมนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยปกติร่างกายต้องการสารไอโอดีนทุกวันวัละ100-150ไมโครกรัมจากผลการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนทารกแรกเกิดรพ.สต.คำด้วง(ตุลาคม2559 - กันยายน2560)มีทารกแรกเกิดอายุ 2 วันขึ้นไปจำนวน 41 คนพบระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ฮอร์โมน(TSH)ในทารกแรกเกิดอายุ2วันขึ้นไปมีค่ามากกว่า11.25มิลลิยูนิต/ลิตรจำนวน2คนคิดเป็นร้อยละ4.88ถือว่าเด็กในเขตรับผิดชอบรพ.สต.คำด้วงเป็นพื้นที่ขาดสารไอโอดีน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับสารไอโอดีนให้เพียงพอต่อร่างกาย

 

80.00

1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนและอาหารเสริมไอโอดีนทุกคนทุกหลังคาเรือน
2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพและสร้างความเข้มแข็งในชุมชนพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นหมู่บ้านไอโอดีนทุกหมู่บ้าน
3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกรายตลอดการตั้งครรภ์และหลังคลอดส่งเสริมพัฒนาการเด็ก0 - 5 ปี ให้มีพัฒนาการสมวัย
4. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวการณ์ขาดสารไอโอดีน (TSH)ทารกแรกเกิดอายุ 2 - 7 วันไม่เกิน11.25มิลลิกรัม/ลิตรน้อยกว่าร้อยละ 3
5. เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชน/อสม. และประชาชนมีความรู้และปฏิบัติเรื่องการควบคุมป้องกันการขาดสารไอโอดีนได้
6. เพื่อให้ร้านค้าร้านชำสถานบริการ มีการจำหน่ายเกลือไอโอดีนและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนคุณภาพในการปรุงและประกอบอาหาร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนแบบบูรณาการ

ชื่อกิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนแบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ กิจกรรมหลัก - ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีน  เช่น  อาหารทะเล  น้ำปลาเสริมไอโอดีน  เกลือเสริมไอโอดีน  ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน  ฯลฯ - กระจายเกลือไอโอดีนและสร้างกระแส การบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนในสถานศึกษา - ตรวจสอบมาตรฐานเกลือไอโอดีน  ในครัวเรือน  ร้านค้า  ร้านอาหาร สถานศึกษา  โดยแบบสำรวจอย่างง่าย และการใช้  I - kit - อบรม  อสม.  สู่ความเป็นทูตไอโอดีน - การรณรงค์  ประชุมชี้แจงผ่านสื่อบุคคล  สื่อระดับต่างๆในชุมชน - ร่วมขับเคลื่อน ชุมชน  / หมู่บ้านทุกแห่งเป็นหมู่บ้านไอโอดีน / ตำบลไอโอดีน ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ทบทวนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของชุมชน 2. ประชาคมชุมชนเพื่อรับทราบข้อเสนอแนะ / แนวทางการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีน  และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเกลือเสริมไอโอดีน 3. ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนให้ทั่วถึง 4. ประชุมกำหนดแนวทางดำเนินงานผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ  ได้แก่  อปท./ผู้นำชุมชน/อสม./ครู/ชุมชน 5. จัดตั้งคณะกรรมการ การดำเนินงานหมู่บ้านไอโอดีน 6. ประชุมคณะกรรมการ  เพื่อจัดทำนโยบาย  และมาตรการควบคุมป้องกันโรขาดสารไอโอดีนในหมู่บ้าน 7. จัดทำโครงการ/แผนการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนได้รับเกลือเสริมไอโอดีนเพื่อปรุงอาหารบริโภคทุกคนทุกหลังคาเรือน
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
  3. ประชาชนทุกกลุ่ม ได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างายไม่เป็นโรคขาดสารไอโอดีน
  4. สถานศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในการประกอบอาหารกลางวัน
  5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพและสร้างความเข้มแข็งในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
  6. เด็ก 0 - 6 ปีได้รับการส่งเสริมไอโอดีนให้มีการพัฒนาการสมวัย
  7. ตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกรายตลอดการตั้งครรภ์และหลังคลอด
  8. สถานบริการมีกองทุนเพื่อจำหน่ายเกลือไอโอดีน
  9. เกิดกระแสการบริโภคสารอาหารที่มีไอโอดีนในชุมชนอย่างยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12190.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับเกลือเสริมไอโอดีนเพื่อปรุงอาหารบริโภคทุกคนทุกหลังคาเรือน
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
3. ประชาชนทุกกลุ่ม ได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างายไม่เป็นโรคขาดสารไอโอดีน
4. สถานศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในการประกอบอาหารกลางวัน
5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพและสร้างความเข้มแข็งในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
6. เด็ก 0 - 6 ปีได้รับการส่งเสริมไอโอดีนให้มีการพัฒนาการสมวัย
7. ตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกรายตลอดการตั้งครรภ์และหลังคลอด
8. สถานบริการมีกองทุนเพื่อจำหน่ายเกลือไอโอดีน
9. เกิดกระแสการบริโภคสารอาหารที่มีไอโอดีนในชุมชนอย่างยั่งยืน


>