กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ เทศบาลตำบล นาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยรักผัก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

เทศบาลตำบล นาทวีนอก

กองการศึกษา เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1นางสาวหทัยพร เอียดปราบ
2นางสาวจริยา ขาวหมื่น
3นางสาวสุใบด๊ะ นุ้ยแอ
4นางสาวรัตนา สันเลม
5นายวรยุทธ วุฒิจรุงชัย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาทวีนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

20.00
2 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

10.00

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาทวีนอก มีเด็กที่ที่อยู่ในศูนย์จำนวน 56 คนมีการจัดทำเมนูอาหารกลางวันและพบเด็กที่ไม่กินผักในศูนย์คิดเป็นร้อยละ 56 ปัญหาสุขภาพมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือผัก – ผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยมีสารพิษ เพราะผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี เพื่อเหตุผลทางการค้าและพาณิชย์ ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโภชนาการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะผลกระทบกับเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ผู้ประกอบการรับเหมาปรุงอาหารมักจะซื้ออาหาร ประเภทผักในตลาดมาปรุงให้เด็กรับประทาน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่เด็กจะได้รับสารพิษจากพืชผักที่มีสารตกค้างส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพของเด็กตามมาได้
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เด็กเล็กมีความปลอดภัยด้านการรับประทานอาหารและเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และรู้จักรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวอย่างมีคุณภาพจึงต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งในส่วนการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการอาหาร การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้แก่เด็กเล็ก การลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งที่มาของอาหาร การประสานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการของเด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยรักผักขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ5

10.00 15.00
2 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

20.00 25.00

2.1 เพื่อให้เด็กเล็กได้รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ปลอดภัย ครบ 5 หมู่ อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
2.2 เพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดี ในการรับประทานอาหาร
2.3 เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้ปกครอง และเด็กเล็กในการทำกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 56
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2018

กำหนดเสร็จ 31/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ เด็ก ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการอาหาร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ เด็ก ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท
    2. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 61 คนๆละ 20 บาทเป็นเงิน 1,220 บาท
    3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
    4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2×2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 600 บาท
    5. ค่าใช่จ่ายอื่นๆ เป็นเงิน 1,730 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) หมายเหตุ :ค่าใช้จ่ายโดยประมาณตามรายการดังกล่าวข้างต้นสามารถจ่ายถัวเฉลี่ยกันได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมวัย ตามเกณฑ์ที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 2ปลูกผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
2ปลูกผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 โดยการร่วมกันปลูกผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาวบริเวณพื้นที่รอบๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเมื่อได้ผลผลิตสามารถนำเข้าไปประกอบอาหารให้เด็กเล็กในศูนย์ฯรับประทาน ได้เมล็ดพันธุ์ผักและวัสดุที่ใช้ในการปลูกได้มาจากผู้ปกครององเด็กในศูนย?พัฒนาเด็กเล็ก 2 ผู้ปกครองนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปลูกผักเพื่อที่จะนำมาขายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ขอความร่วมมือ รพ.สต.ในพื้นที่ลงตรวจสารเคมีที่ตกค้างในผัก 4 ขอความร่วมมือ รพ.สต.ในพื้นที่ลงตรวจโรงอาหารในโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารกรมอนามมัยพร้อมทั้งแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ในการปรุงอาหาร 5เพิ่มการใช้โปรแกรม Thai School Lunch มากขึ้น 6สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพิ่มพื้นที่แหล่งผลิตอาหาร เด็กได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษและเด็กมีสุขภาพแข็งแรงสมวัย 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมวัย ตามเกณฑ์ที่กำหนด
2 ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการอาหาร และเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าในเรื่องการปลูกผัก
3 ครู ผู้ปกครอง และเด็กเล็ก มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน สร้างความรัก ความสามัคคี


>