กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

8 หมู่บ้าน ตำบลนาทับ(หมู่1,2,6,8,10,12,13,14)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับในปีงบประมาณ 2560 พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10.1ซึ่งพบว่าจะมีภาวะซีดร่วมด้วย(เกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ10)และยังส่งผลต่อการเจริญเติบของทารกในครรภ์เมื่อคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500กรัม ร้อยละ7.41ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ7 มีผลต่อการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและสมองสติปัญญา เสี่ยงที่จะมีพัฒนาการตามวัยล่าช้าตามมาด้วยในปีงบประมาณ 2560 พบเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 19รายขาดสารอาหารจำนวน 30คนฉะนั้นการเตรียมความพร้อมในความรู้ในการปฏิบัติตนให้หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์จนถึงอายุ2ปี จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.พัฒนาคุณภาพคลินิกฝากครรภ์ 2.เพื่อพัฒนาคุณภาพคลินิกสุขภาพเด็กดี 3. เพื่อสนับสนุน ยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
1.พัฒนาคุณภาพคลินิกฝากครรภ์ 2.เพื่อพัฒนาคุณภาพคลินิกสุขภาพเด็กดี 3. เพื่อสนับสนุน ยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.พัฒนาคุณภาพคลินิกฝากครรภ์  งบประมาณ  89,000  บาท 1.1 รณรงค์การฝากครรภ์ก่อน 3 เดือน 1.2 สร้างกระแสการบริโภคนมในหญิงตั้งครรภ์และเฝ้าระวังติดตามน้ำหนักหญิงตั้งครรภ์ทุกคนทุกครั้งที่มารับบริการ 1.3 ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและทุกครั้งที่มารับบริการฝากครรภ์ 2.เพื่อพัฒนาคุณภาพคลินิกสุขภาพเด็กดี  งบประมาณ  78,550 บาท 2.1ฟื้นฟูการดำเนินงานบันได 10ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2.2คัดกรอง  ติดตาม  ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ 2.3ประเมินพฤติกรรมบริโภคอาหารของเด็กที่มารับบริการทุกคน  และการเลี้ยงดูจากพ่อแม่/ผู้ดูแล 2.4เฝ้าระวังและติดตามส่วนสูงน้ำหนักเด็ก 2.5การให้คำแนะนำ 3.1ให้ความรู้แก่ทีม งบประมาณ 5,500  บาท 3.2สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตแม่และเด็ก 3.3ส่งเสริมให้ชุมชนกำหนดมาตรการทางสังคม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ >80% 2. หญิงตั้งครรภ์/สามี เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่  80 % 3.หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักขึ้นขณะตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ร้อยละ90 4.หญิงตั้งครรภ์มีระดับความเข็มข้นของเลือด ครั้งที่2  และใกล้คลอด ร้อยละ90 5.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ90 6.ทารกแรกเกิดมีน้ำหนัก2500กรัม ร้อยละ95 7.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ80 8.มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 9.เด็กอายุ 9 เดือน – 2 ปีมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90 10.พ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็กมากกว่าร้อยละ70 11.เกิดกระแสทางสังคมในคลินิกสุขภาพเด็กดี ในเรื่อง งดขนมขบเคี้ยว /งดการใช้โทรศัพท์ ในเด็ก ร้อยละ 100 12.เด็กผอมลดลงร้อยละ3
13.เด็กเตี้ยลดลงร้อยละ3 14.เด็กร่างกายสมส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ10
15.ชุมชน  ภาคีเครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินตามแผนงาน มากกว่าร้อยละ 50  ( ประเมินด้วยวิธีการสังเกต) 16.ความร่วมมือ  กระแสตอบรับ  การจัดกิจกรรม อยู่ในระดับ พอใช้ขึ้นไป 17.ประเมินความพึงพอใจตามแผนงานโครงการ อยู่ในระดับ  ดี- ดีมาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
173050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 173,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การลงทุนด้านโภชนาการสตรีและเด็กให้ผลตอบแทนกลับคืนมา 50 เท่า
2.เด็กเจริญเติบโตดีพัฒนาการสมวัย ระดับเชาว์ปัญญาดีมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
3.ลดปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ
4.ลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอันเนื่องมาจากการขาดสารอาหาร


>