กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบล คลองหรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อย ศพด.คลองหรังรักผัก ผลไม้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

องค์การบริหารส่วนตำบล คลองหรัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง อ.คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของกิจกรรมในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

70.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

80.00
3 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

8.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

70.00
5 จำนวนโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch

 

0.00
6 ร้อยละของกิจกรรมในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

70.00
7 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าที่ถูกหลักโภชนาการ

 

60.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

70.00 80.00
2 เพิ่มการใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch

0.00 1.00
3 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

8.00 0.00
4 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

80.00 70.00
5 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก

ร้อยละของกิจกรรมในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

70.00 85.00
6 เพิ่มจำนวนนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่ได้รับประทานอาหารเช้าที่ถูกหลักโภชนาการ

ร้อยละของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่ได้รับประทานอาหารเช้าที่ถูกหลักโภชนาการ

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 160
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ครูผู้ดูแลเด็กรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ครูผู้ดูแลเด็กรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูผู้ดูแลเด็ก ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปรผล
2.จัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนศพด.ตำบลคลองหรังที่มีปัญหาโภชนาการ (อ้วน,ผอม,เตี้ย)
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท จำนวน 15 คน เป็นเงิน 375 บาท
2. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด1.2x2.4m เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นเงิน 1,000 บาท
5. ค่าเอกสารประกอบการประชุม 15 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้ข้อมูลทางภาวะโภชนาการของนักเรียนในศพด.ตำบลคลองหรัง
  2. ผู้ปกครองได้รับความรู้ทางโภชนาการที่ถูกต้องในการดูแลบุตรหลาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3975.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมคณะทำงานกองทุนฯ เครือข่ายในชุมชน ผู้ปกครอง แม่ครัว ครู เลือกชนิดผัก ผลไม้ที่จะปลูก
  2. แสวงหาผู้นำเข้ามาเป็นแกนนำ
  3. ติดตามประเมินผล
    ค่าใช้จ่าย

    ค่าอาหารว่าง 170 คนๆละ 25 บาท เท่ากับ 4,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีแผนดำเนินงาน
  2. มีแกนนำในการดำเนินงาน
  3. เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 3 เตรียมแปลงปลูกผักสวนครัว

ชื่อกิจกรรม
เตรียมแปลงปลูกผักสวนครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวและผลไม้ เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. จัดซื้อดินปลูก เป็นเงิน 2,000 บาท
  3. ขอความอนุเคราะห์เครื่องมือปลูกผัก เช่น บัวรดน้ำ พรวน เสียม จอบ จากเกษตรกรหรือผู้ปกครอง
  4. ยกร่องแปลงปลูก โดยเชิญตัวแทนจากชุมชน แกนนำ และผู้ปกครองร่วมกันยกร่องแปลงปลูกร่วมกับเด็กนักเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีแปลงปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน 10 แปลง
  2. สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดอาหารเช้าที่ถูกหลักโภชนาการให้กับนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดอาหารเช้าที่ถูกหลักโภชนาการให้กับนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
งบประมาณ

160 คนๆละ 15 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน 240,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้บริโภคอาหารเช้าที่ถูกตามหลักโภชนาการ ครบ 5 หมู่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
240000.00

กิจกรรมที่ 5 ให้ความรู้และแบ่งกลุ่มดูแลพืชผักสวนครัวประจำวัน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และแบ่งกลุ่มดูแลพืชผักสวนครัวประจำวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ครูผู้ดูแลเด็กให้ความรู้กับเด็กนักเรียนเกี่ยวกับผัก ผลไม้ คณิตศาสตร์ การรดน้ำ พรวนดิน
  2. จัดกลุ่มเด็กนักเรียนดูแลแปลงผักประจำวัน เช่น ปลูก ดูแล/รดน้ำต้นไม้ เก็บผลผลิต
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กนักเรียนได้รับความรู้ในการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ และด้านคณิตศาสตร์
  2. เด็กนักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ทางด้านเกษตร ด้วยการลงมือทำจริง ทำให้พวกเขาสนุกและเกิดการจดจำไปได้ตลอด
  3. เด็กๆ มีความรับผิดชอบต่องาน (การดูแลผักผลไม้) ที่ได้รับมอบหมาย
  4. เด็กมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 การเรียนรู้เมนูผัก

ชื่อกิจกรรม
การเรียนรู้เมนูผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำพืชผักที่เก็บผลผลิตได้จากแปลงปลูกมาสอนให้เด็กรู้จักก่อนรับประทาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กนักเรียนได้รับความรู้ในการปรุงอาหารและประโยชน์จากพืชผัก
  2. เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่และบริโภคอย่างเพียงพอ
  3. เด็กนักเรียนมีค่านิยมในการบริโภคผักผลไม้ปลอดสารเคมีมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 กระเช้าผักผลไม้ดี 400กรัม เพื่อผู้สูงวัย

ชื่อกิจกรรม
กระเช้าผักผลไม้ดี 400กรัม เพื่อผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นำพืชผลผลิตที่เก็บได้แต่ละวันมาจัดทำเป็นกระเช้าผักผลไม้ให้มีปริมาณ 400กรัม
  2. นำเด็กนักเรียนพากระเช้าไปเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุในชุมชน
  3. จัดทำแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานพืชผักชนิดต่างๆไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อมื้อ ค่ากระเช้าใส่ผัก 2000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีกระเช้าผักผลไม้ไว้เยี่ยมกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุในชุมชน
  2. กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทานผักผลไม้ไม่น้อยกว่า 400 กรัม เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเส้นเลือด โรคมะเร็ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 8 ประเมินภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กมีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 0
  2. ได้ข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 257,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานผักและผลไม้ปลอดสารพิษอย่างแท้จริง
2. เด็กมีทัศนคติในการทานผักและผลไม้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น และรับประทานผักผลไม้มากขึ้น
3. เด็กที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ มีจำนวนลดลง เพราะได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์ รวมถึงมีการประเมินสภาวะโภชนาการของเด็กอยู่เสมอ
4. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการทานผักและผลไม้ปลอดสารพิษ
5. เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
6. เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก
7. นักเรียนได้บริโภคอาหารเช้าครบ 5 หมู้ถูกตามหลักโภชนาการ


>