กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะต้อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะต้อง

รพ.สต.มะต้อง รพ.สต.บ้านหางไหล

นางสาวสายไหมมีมาก
นางธิษณาเกตุตะมะ
นางปาริชาตอึ้งตระกูล
นางเอื้องไพรข้อหน่อ
นางธิษณาเกตุตะมะ
นางปาริชาตอึ้งตระกูล
นางปาริชาตอึ้งตระกูล
นางเอื้องไพรข้อหน่อ
นางธิษณาเกตุตะมะ

รพ.สต.มะต้อง รพ.สต.บ้านหางไหล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

19.79
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

20.58

ปัจจุบันสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ ซึ่ง จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น เกิดจากปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น การ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่และเลิกสุรา แต่ในสภาวะปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตของประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแล เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพตนเองและการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ไม่สามารถควบคุมโรคได้ จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ซึ่งอาจลุกลามจนเกิดอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา การเกิดแผลที่เท้า โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองเป็นต้น
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ หากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้น คือ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้ว จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้องและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหางไหล มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 537 คน ได้รับการตรวจจำนวน 271 คน สามารถคุมน้ำตาลได้ 91 คน ร้อยละ 19.79และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,453 คนได้รับการตรวจ 684 คน สามารถคุมระดับความดันได้ 299 คน ร้อยละ 20.58 ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้องและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหางไหลจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2561

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2.เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 955
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาล( ผู้ป่วยโรคเบาหวาน) รพ.สต.ละ 40 คนรวม 80 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาล( ผู้ป่วยโรคเบาหวาน) รพ.สต.ละ 40 คนรวม 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน( 80 บาทX80 คน ) อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ( 25 บาทX80คนX2 มื้อ) สำหรับแกนนำสุขภาพ จำนวน 80 คนๆละ 130 บาท                                 เป็นเงิน  10,400    บาท -ค่าป้ายไวนิลในการอบรม  ขนาด  2.8*1.2  เมตร  จำนวน 2  ป้ายๆละ 500 บาท      เป็นเงิน  1,000       บาท -ค่าวัสดุในการอบรม(สมุดปกอ่อน,ปากกา,แฟ้มใส่เอกสาร) 80  คนๆละ  20  บาท    เป็นเงิน  1,600      บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร  4   คนๆละ  1,200  บาท   (แห่งละ 2 คนๆละ 2 ชม.ๆละ600บาท)                                                                                                                     เป็นเงิน  4,800      บาท -ค่าสติกเกอร์สัญญาณเตือนอันตรายโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ  จำนวน  80  แผ่นๆละ  40  บาท                                            เป็นเงิน  3,200      บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถคุมระดับความดันได้ ( ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง) รพ.สต.ละ 60 คนรวม 120 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถคุมระดับความดันได้ ( ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง) รพ.สต.ละ 60 คนรวม 120 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน( 120 บาทX80 คน ) อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ( 25 บาทX80คนX2 มื้อ) สำหรับแกนนำสุขภาพ จำนวน 120 คนๆละ 130 บาท                                   เป็นเงิน  15,600    บาท -ค่าป้ายไวนิลในการอบรม  ขนาด  2.8*1.2  เมตร  จำนวน 2  ป้ายๆละ 500 บาท      เป็นเงิน  1,000       บาท -ค่าวัสดุในการอบรม(สมุดปกอ่อน,ปากกา,แฟ้มใส่เอกสาร) 130  คนๆละ  20  บาท  เป็นเงิน  2,600      บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร  4  คนๆละ  1,200  บาท  (แห่งละ 2 คนๆละ 2 ชม.ๆละ600บาท)                                                                                                                         เป็นเงิน  4,800      บาท -ค่าสติกเกอร์สัญญาณเตือนอันตรายโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ  จำนวน  120  แผ่นๆละ  40  บาท                                    เป็นเงิน  4,800      บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์


>