กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแม่เด็กสุขภาพดีเริ่มทันทีก่อนตั้งครรภ์ หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2561

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นิคมพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแม่เด็กสุขภาพดีเริ่มทันทีก่อนตั้งครรภ์ หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นิคมพัฒนา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ9 ตำบลนิคมพัฒนา

ห้องประชุมสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง ปัจจุบันประเทศไทย มีอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ 45.23 และในเขต 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ร้อยละ 56.58 จังหวัดสตูล ร้อยละ 51.11 อำเภอมะนัง ร้อยละ 52.40ต.นิคมพัฒนา ร้อยละ 77.78 และพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์มีภาวะโลหิตจางเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกประเทศไทย ร้อยละ 19.21เขต 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างร้อยละ 21.82 และจังหวัดสตูล ร้อยละ 16.41อำเภอมะนัง ร้อยละ 25.42และ ตำบลนิคมพัฒนา ร้อยละ 10.47 จากข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียติฯ อ.มะนัง จังหวัดสตูลปี 25๖๐ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 57 คน มีอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน ๑๒ สัปดาห์ 44 คน (ร้อยละ 77.19) หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ 32 คน (ร้อยละ 56.14) หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด ร้อยละ 8.5และพบว่าทารกที่มาคลอด น้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 23.18
ถึงแม้ว่าสถานการณ์ของตัวชี้วัดของ พื้นที่หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีก็ตาม แต่ยังพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงอยู่ ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ จึงต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของคู่สมรส การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ทั้งทางด้าน ร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม และครอบครัวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดูแลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขสถานีอนามัย เฉลิมพระเกียรติ ฯ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ประจำหมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล จึงจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในกลุ่มแม่และเด็กในพื้นที่รวมทั้งส่งเสริมครอบครัว ชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กเพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดไม่เกินร้อยละ ๑๐
2. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
3. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 119
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 110
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2018

กำหนดเสร็จ : 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงหลังคลอดและคู่สมรส กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงหลังคลอดและคู่สมรส กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ
- ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2.5 เมตร x 1 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน ๓๗๕.-บาท รวมเป็นเงิน ๓๗๕.-บาท กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน x 6๐ บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,6๐๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x ๒๕ x ๒ มื้อ เป็นเงิน 3,0๐๐.-บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชม.เป็นเงิน 3,600.-บาท - ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 2๐ บาท (ปากกา ๕ บาท, เป็นเงิน1,2๐๐.-บาท เอกสารอบรม ชุดละ 15 บาท ) x 60 คน
รวมเป็นเงิน 11,4๐๐.-บาท กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงหลังคลอดและคู่สมรส - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 6๐ บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,0๐๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x ๒๕ x ๒ มื้อ เป็นเงิน 2,๕๐๐.-บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชม.เป็นเงิน 3,600.-บาท - - ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 2๐ บาท (ปากกา ๕ บาท, เป็นเงิน1,๐๐๐.-บาท เอกสารอบรม ชุดละ 15 บาท ) x 50 คน รวมเป็นเงิน ๑๐,1๐๐.-บาท กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 119 คน x 6๐ บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 7,140.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 119 คน x ๒๕ x ๒ มื้อ เป็นเงิน5,95๐.-บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชม.เป็นเงิน 3,600.-บาท - - ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 2๐ บาท (ปากกา ๕ บาท, เป็นเงิน2,38๐.-บาท เอกสารอบรม ชุดละ 15 บาท ) x 119 คน รวมเป็นเงิน 19,070.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คู่สมรสมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงและมีสุขภาพดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มารดาและทารกคลอด ปลอดภัย
  2. เด็กเจริญเติบโตมีพัฒนาการสมวัยทั้ง ๕ ด้าน
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40945.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,945.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และคู่สมรส และหญิงวัยเจริญพันธ์ สามารถนำความรู้ไปใช้กับตนเองและครอบครัวได้


>