กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นิคมพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชวนน้อง กินพอดี สูงดีสมวัย สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นิคมพัฒนา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา

ห้องประชุมสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ”จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรใน วัยต่าง ๆในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (แรกเกิด – 5 ปี) จะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบ ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 113 คนจากเด็กทั้งหมด 397 คน คิดเป็นร้อยละ 28.46ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ7และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการ ชวนน้อง กินพอดี สูงดีสมวัย สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ปีงบประมาณ 2561

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อเสริมสร้างผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมให้บุตรหลานบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ โดยยึดหลัก 3 อ.อย่างถูกต้อง 2.2 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองนักเรียน มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 2.3 เพื่อสร้างแกนนำผู้ประกอบการอาหารและครูผู้ดูแลเด็กในการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.4 เพื่อสร้างระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในวัยเรียน

เด็กก่อนวัยเรียนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์  ไม่เกินร้อยละ 7

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
๑. ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 196

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ ๒ พัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ ๓ พัฒนาทักษะการติดตามและประเมินผลภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ ๒ พัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ ๓ พัฒนาทักษะการติดตามและประเมินผลภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.1 ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด ๒.๕ x ๑ เมตรจำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๓๗๕ บาท 1.2 ค่าแผ่นผับ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ จำนวน ๑๙๖ แผ่นๆ ละ 2 บาทเป็นเงิน 392 บาท รวมเป็นเงิน ๗๖๗ บาท

กิจกรรมที่ ๒ พัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ 2.๑ ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ปกครองเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ จำนวน๑๙๖ คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 11,760 บาท 2.๒ ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับผู้ปกครองเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ จำนวน196 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,9๐๐ บาท 2.3 ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2.4 ค่าเอกสารและอุปกรณ์ ในการให้ความรู้ จำนวน 196 คนๆ ละ ๒๐ บาท (ค่าปากกา 5 บาท , ค่าเอกสาร 1๕ บาท)เป็นเงิน 3,92๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒4,1๘๐ บาท

กิจกรรมที่ ๓ พัฒนาทักษะการติดตามและประเมินผลภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ และทำกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในผู้ปกครอง ในศูนย์เด็กเล็ก ทั้ง ๓ แห่ง โดยจะมุ่งเน้นการจัดเตรียมเมนูอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน 3.1 ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ปกครองเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ จำนวน๑๙๖ คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 11,760 บาท 3.2 ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับผู้ปกครองเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ จำนวน196 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,9๐๐ บาท 3.3 ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 3.4 ค่าเอกสารและอุปกรณ์ ในการให้ความรู้ จำนวน 196 คนๆ ละ ๒๐ บาท (ค่าปากกา 5 บาท , ค่าเอกสาร 1๕ บาท)เป็นเงิน 3,92๐ บาท รวมเป็นเงิน 24,180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ โดยยึดหลัก 3 อ.
๒. กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
๓. มีแกนนำนักเรียนในการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
๔. มีระบบการเฝ้าระวังโภชนาการในวัยเรียน ๕. เด็กวัยเรียนสามารถเข้าถึงบริการ เมื่อมีปัญหาภาวะโภชนาการโดยมีระบบการดูแลส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49127.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,127.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ โดยยึดหลัก 3 อ.
๒. กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
๓. มีแกนนำนักเรียนในการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
๔. มีระบบการเฝ้าระวังโภชนาการในวัยเรียน
๕. เด็กวัยเรียนสามารถเข้าถึงบริการ เมื่อมีปัญหาภาวะโภชนาการโดยมีระบบการดูแลส่งต่อ


>