กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สาวอรวมพลังเยาวชน ป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาวอ

สาวอจิตอาสาเมืองดาหลา(ชมรมจิตอาสาญาลันบารูู ตำบลสาวอ)

1 นายอับดุลรอเซะปะเต๊ะ ( หัวหน้าโครงการ)
2 นายสาเหะรอนิงสาเหะยูโซ๊ะ โทรศัพท์ 098-0212100
3 นางซากีนา สิโล้ะ
4 นายมะซากี หะมะรอแมโน
5 นายประเสริฐ เจ้ะมิ

บ้านสาวอฮูลู ต.สาวอ อ.รีอเสาะ จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี(คน)

 

50.00
2 จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (คน)

 

50.00
3 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ (คน)

 

10.00
4 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่

 

80.00
5 ร้อยละของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

 

90.00
6 มาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ(จำนวนมาตรการ)

 

0.00

สถานการณ์ปัญหายาเสพติดประเทศไทยเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยหากพิจารณากลุ่มประชากรที่มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเป็นอย่างสูง พบได้ว่า กลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสสูงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดตามระบบรายงานระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.) พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นจำนวนมาก โดยเข้ารับการบำบัดถึงร้อยละ 50.13 51.35 และ 52.04 ของประชากรที่เข้ารับการบำบัดทั้งหมดตามลำดับ ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงควรมุ่งเน้นที่เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญแนวนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมา จึงได้กำหนดการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักของการดำเนินงาน โดยมีมาตรการป้องกันกลุ่มเสี่ยงมิให้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (Potential Demand) เป็นแนวทางหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ จัดทำแผนปฏิบัติการและการดำเนินงานก็ได้กำหนดให้เยาวชนเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติดและปัจจัยยั่วยุต่างๆเป็นต้น ฉะนั้น การป้องกันในกลุ่มเยาวชนเพื่อมิให้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดจึงเป็นเจตจำนงและแนวนโยบายที่สำคัญของภาครัฐและองค์กรในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 37.1 ของประชากรทั้งหมด รวมถึงมีลักษณะหลากหลาย ทั้งเยาวชนที่อยู่กับครอบครัว เยาวชนที่ครอบครัวแตกแยกหรือมีเหตุจำเป็นทำให้ไม่ได้อยู่กับครอบครัว เยาวชนในสถานศึกษา เยาวชนนอกสถานศึกษาเยาวชนแกนนำ เยาวชนด้อยโอกาส เยาวชนที่มีความสามารถด้านการเรียน มีความสามารถด้านกีฬา ด้านดนตรี หรือเยาวชนที่อาจยังหาความสามารถของตนเองไม่พบฯลฯ ซึ่งเยาวชนแต่ละกลุ่มแต่ละลักษณะจะมีโอกาสในความเสี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแตกต่างกัน
กลุ่มเยาวชนที่มีโอกาส/ความเป็นไปได้ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มที่มีทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับยาเสพติดกลุ่มที่มีวัฒนธรรม/วิถีชีวิตยอมรับการใช้ยาเสพติด กลุ่มที่ใช้ชีวิต/เวลาในทางที่ไม่ควรอาทิ หนีเรียน มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ติดเกม เสพสื่อลามก กลุ่มที่มีความเอนเอียงต่อพฤติกรรมแข่งรถซิ่ง และกลุ่มที่มีปัญหาครอบครัวดังนั้น การดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ซึ่งมีปัจจัยจำกัดเชิงบริหารต่างๆ เช่น ปัจจัยจำกัดด้านทรัพยากร เวลาและองค์ความรู้ จึงจำเป็นต้องเลือกกลุ่มเยาวชนที่มีความเสี่ยง/โอกาสสูงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเป็นลำดับความสำคัญแรกในการดำเนินงาน เพื่อให้การป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนสามารถดำเนินการได้อย่างตรงจุด ตรงประเด็น และตรงต่อสภาพปัญหามากที่สุด อันจะทำให้การป้องกันปัญหายาเสพติดสามารถบังเกิดผลหรือสามารถลดผู้ที่จะเข้าประตูสู่ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง
ลักษณะเยาวชนโดยรวมสามารถจำแนกออกได้หลากหลายลักษณะตามแต่มุมมองในด้านต่างๆ สำหรับกรอบความคิดเพื่อการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน ได้แบ่งเยาวชนตามลักษณะทางพฤติกรรมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เยาวชนกลุ่มทั่วไป กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ/ติด โดยเยาวชนแต่ละกลุ่มมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เยาวชนกลุ่มทั่วไป คือ เยาวชนทั่วไปที่มีพฤติกรรมตามปกติในบรรทัดฐานทางสังคมและมีภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติดในระดับที่มากกว่าเยาวชนกลุ่มอื่นโดยเปรียบเทียบ
(2) เยาวชนกลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือมีโอกาส/แนวโน้มสูงที่จะใช้ยาเสพติด หรืออาจรวมถึงเยาวชนที่เสพยาเสพติดหรือเคยทดลองใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นผู้ติด
(3) เยาวชนกลุ่มเสพ/ติด คือ กลุ่มเยาวชนที่เสพ/ติดยาเสพติดเป็นประจำซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดรักษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (คน)

50.00 25.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(คน)

50.00 25.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

10.00 30.00
4 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

80.00 60.00
5 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ)

90.00 60.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนมาตรการ)

0.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กรรมการมัสยิด โต๊ะหม่าม 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานอาสาสมัครดาหลา บ้านสาวอฮูลู ในการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานอาสาสมัครดาหลา บ้านสาวอฮูลู ในการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและกรรมการมัสยิด โต๊ะอิหม่าม และบาบอและผู้บริหารตาดีกา จำนวน 20 คน จำนวน 1 วัน โดยประเด็นที่พูดคุย เรื่อง แนวทางดำเนินโครงการและการเสนอข้อมูลรายชื่อเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่คัดกรองว่าจะมีการเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด(กระท่อม ยาบ้า) และสูบบุหรี่
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
2. ค่าวัสดุประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะทำงานและกรรมการมัสยิด โต๊ะอิหม่าม บาบอและผู้บริหารโรงเรียนตาดีกา เข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการ
  2. เกิดข้อมูลเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดในหมู่บ้านมาพูดคุย และวางแผนการจัดค่ายเยาวชนต้านยาเสพติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพเยาวชนตำบลสาวอเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนตามหลักศาสนาและหลักสันติวิธี

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพเยาวชนตำบลสาวอเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนตามหลักศาสนาและหลักสันติวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำเยาวชนที่เสี่ยงต่อการติดสารเสพติดและครอบครัวนำร่อง จำนวน 60 คน เข้าค่ายนอกสถานที่ จำนวน 2 วัน มีหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสารเสพติด
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท x 60 คน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 4 มื้อ ๆละ 25 บาท x 60 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
3. ค่าวิทยากร(นอกราชการ) จำนวน 12 ชม.ๆละ 1,200 บาทเป็นเงิน14,400 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการอบรม (5,570 บาท)
- สมุดจดบันทึก จำนวน 60 เล่มๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200บาท
- ปากกาจำนวน 60 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600บาท
- แฟ้มใส่เอกสารจำนวน 60แฟ้มๆละ 25 บาทเป็นเงิน1,500บาท
- กระดาษฟลิปชาร์ท จำนวน 50 แผ่นๆละ5 บาทเป็นเงิน 250บาท
- ปากกาเคมีคละสีจำนวน 38 ด้ามๆละ 25บาท เป็นเงิน 950บาท
- กระดาษเทปกาวจำนวน 10 ม้วนๆละ 45บาท เป็นเงิน 450บาท
- กระดาษ A4จำนวน4รีมๆละ155 บาท เป็นเงิน 620 บาท 4. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 60 เล่มๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 5.ค่าป้าย จำนวน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่อง อันตรายของสารเสพติด
  2. เยาวชนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้ทีได้จากการอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของตนเองได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37170.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด เยาวชนดาหลา ทำความดีด้วยหัวใจ

ชื่อกิจกรรม
สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด เยาวชนดาหลา ทำความดีด้วยหัวใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำเยาวชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คนและ ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน ร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันด้วยวิธีการพัฒนาหมู่บ้าน วัด มัสยิด หรือศาลาประชาคม จำนวน 3 ครั้ง
1.ทำความสะอาด บริเวณมัสยิดบ้านจือแร หมู่ที่ 3 ตำบลสาวอ 2.ทำความสะอาด บริเวณมัสยิดบ้านสาวอฮูลู หมู่ที่ 2 ตำบลสาวอ 3.ทำความสะอาด บริเวณมัสยิดบ้านดือแย หมู่ที่ 4 ตำบลสาวอ ค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 7,500 บาท 2.ค่าอาหาร จำนวน 100 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 10,500 บาท 3.ค่าป้ายจำนวน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อพัฒนาชุมชน ของตนเอง
  2. เยาวชนและผู้ปกครองมีกิจกรรมร่วมกัน 3.สร้างสัมพันธ์ครอบครัวที่ดีระหว่างผุ้ปกครองกับเด็กและเยาวชน 4.สร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดความรักในชุมชนบ้านเกิด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10900.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม มัสยิดนำร่อง ตาดีกาต้นแบบ ปลอดบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม มัสยิดนำร่อง ตาดีกาต้นแบบ ปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำผู้นำศาสนา กรรมการ โต๊ะอิหม่าม ผู้บริหารโรงเรียนตาดีกา ผ้นำชุมชน และชาวบ้าน 100 คน ร่วมกันร่างมาตรการเพื่อการของการเป็นพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่และร่วมกันประกาศและติดป้ายข้อบังคับเป็นพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่ และการบรรยายธรรมโดยผู้นำศาสนาที่มีผลต่อความเชื่อ บุหรี่เป็นฮาลอมตามหลักศาสนา
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายธรรม จำนวน 3 ชม.x 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 100 คน เป็นเงิน 2,500 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน35 บาท x 100 คน เป็นเงิน 3,500 บาท 4.ค่าป้าย 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดมัสยิดปลอดบุหรี่3 แห่ง 2.เกิดตาดีกา ปลอดบุหรี่ 3 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,170.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายภายในกิจกรรมที่จัดได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องอันตรายของสารเสพติด
2. เยาวชนมีกิจกรรมยามว่างเพื่อลดละเลิกสารเสพติด


>