กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงกรควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๔บ้านสนกลาง

บ้านสนกลางหมู่ที่ ๔ตำบลแหลมสนอำเภอละงูจังหวัดสตู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลแหลมสนอำเภอละงูจังหวัดสตูลในปีพ.ศ.๒๕๖๑พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน๓๒รายคิดเป็นอัตราป้วยเท่ากับ๑,๓๔๓.๙๗ต่อแสนประชากรและพบผู้ป่วยทุกหมู่บ้านซึ่งสูงกว่ามัธยฐานย้อนหลัง๕ปีเทียบกับปี๒๕๕๖และหมู่ที่๔บ้านสนกลางในปี๒๕๖๑ พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน๔ รายคิดเป็นอัตราป่วย ๙๒๕.๙๒ ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาหรือไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๓๑.๔๘ ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ๑ มกราคม - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑) ที่มา E1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน หากมองข้อมูลอาจพบว่าจำนวนผู้ป่วยน้อย แต่มาตรฐานทางด้านสาธารณสุขมองในเรื่องของอัตราการป่วยต่อแสนประชากรเ็นสำคัญ ซึ่งบ้านบุโบยป่วยสูงที่สุดในตำบลแหลมสน ประกอบกับหมู่บ้านค้างเคียงมีผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกหมู่บ้านและด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพดิน ฟ้า อากาศในปัจจุบันตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๐ จนถึงปี ๒๕๖๑ เป็นต้นมา มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี จึงทำให้มีน้ำท่วมขังประกอบกับพื้นที่ตำบลแหลมสนสน เป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำจึงมักมีการเก็บกัก รับรองน้ำไว้ในภาวชะขังน้ำจำนวนมาก นับเป็นแหล่งแพร่พันธ์ของลูกน้ำยุงลาย และภาชนะไม่มีการปกปิดป้องกันการวางไข่ของยุงลาย และเป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าว มักพบกะลามะพร้าวขังน้ำจำนวนมากอีกด้วย ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านสนกลาง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการกลับมาระบาดขึ้นในพื้นที่อีก จึงได้มีการจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกไข้ปวดข้อยุงลายขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกหมู่บ้านโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำหลักร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข คือค่า HI ไม่เกิน ๑๐ ค่า CI ไม่เกิน ๑๐

จำนวนลูกน้ำยุงลายลดลง

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

คนเป็นไข้เลือดออกลดจำนวนลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/08/2018

กำหนดเสร็จ 31/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงให้ความรู้พร้อมทั้งคืนข้อมูลสถานการณ์ให้ชุมชนทราบ  เพื่อกำหนดกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ร่วมกัน -  ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน  จำนวน  ๑๐๐  คน ๆ ละ ๑๒๐  บาท  เป็นเงิน  ๑๒,๐๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนได้รับทราบถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดย้อยุงลายประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 การรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอสและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ตามแผนการรณงค์โดยสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  จำนวน  ๑๕๖  หนังคาเรือน  รณรงค์ทั้งหมด  ๔  ครั้ง -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  ๕๐  คน ๆ ละ  ๓๐  บาท  จำนวน  ๔  ครั้ง  เป็นเงิน  ๖,๐๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชาวบ้านมีความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดซื้อทรายทีมีฟอส

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อทรายทีมีฟอส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อทรายทีมีฟอส  จำนวน  ๒  ถัง ๆ ละ ๔,๘๐๐  บาท  เป็นเงิน  ๙,๖๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของบ้านสนกลาง  ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายบ้านสนกลางหมู่ที่ ๔ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในหมู่บ้านจึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้


>