กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด 98 หมู่ที่ 11 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 คณะกรรมการบริหารกองทุนขาดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน ระเบียบ จุดมุ่่งหมายของกองทุน และการจัดทำโครงการด้านสุขภาพ

 

2.00
2 จำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ ไม่ได้รายงานผลตามกำหนดเวลา

 

3.00
3 .กลุ่ม องค์กรที่ขอรับทุน ยังไม่กระจาย

 

1.00

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุน พร้อมทั้งได้กำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนในการพิจารณาอนุมัติแผนงาน โครงการ การออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน ควบคุม กำกับ ดูแล การเงินของกองทุน ดูแลกำกับให้หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ดำเนินการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง ให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลแผนดำเนินงานตลอดจนให้ความเห็นชอบในการจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงาน การแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานเพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น
จากเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการกองทุนจึงเป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการ เป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดีทั้งกายและจิต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ จำนวน 18 คน

18.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จภายในเดือนตุลาคมร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ ร้อยละ 90ของกลุ่มที่ขอรับทุน

90.00
4 เพื่อให้คณะอนุกรรมการคณะต่างๆ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน

คณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ร้อยละ 90มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การบริหารจัดการกองทุน

ชื่อกิจกรรม
การบริหารจัดการกองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานธุรการของสำนักงาน และสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้กับคณะกรรมการ อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าจัดซื่้อวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
2.ค่าจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับใช้ในกิจการของกองทุน เช่น ตู้เก็บเอกสาร ชั้นวางเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 2,500 บาท
3.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของคณะกรรมการ อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุน เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอสำหรับการดำเนินการด้านธุรการของสำนักงาน คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  เข้าร่วมงาน กิจกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับวิทยากร ผู้เข้ารับการอบรม และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท/คน จำนวน 50 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
3.ค่าอาหารว่าง สำหรับวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท/คน จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
4.ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
6.ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการอบรม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
7.ค่าเช่าสถานที่ เป็นเงิน 3,000 บาท 8. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุน และคณะอนุกรรมการ จำนวน 50 คน มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุน และมีความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุน การออกระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของกองทุน การติดตามผลการดำเนินงานกองทุน การขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนจากกลุ่ม องค์กร ต่าง ๆ
จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน เพื่อพิจารณาเรื่องในอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแต่ละคณะ เช่น อนุกรรมการฝ่ายการเงินและพัสดุ อนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ อนุกรรมการฝ่ายติดตามประเมินผล เป็นต้น
โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 20คน ๆ ละ 4 ครั้ง ๆ 300 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
2.ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการ จำนวน 20 คน ๆล ะ 2 ครั้ง ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
3.ค่าเลี้ยงรับรองอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับการประชุมของคณะกรรมการ/อนุกรรมการ รวม 6 ครั้ง ๆ ละ 40 คน ๆล ะ25 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
4.ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 2,000

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน ไตรมาสละ 1 ครั้ง มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมในแต่ละครั้ง ร้อยละ 90 จัดประชุมคณะอนุกรรมการ ปีละ 2 ครั้ง/คณะ และมีคณะอนุกรรมการเข้าร่วมประชุมแต่ละครั้งร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดประชุมคณะอนุกรรมการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะอนุกรรมการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะอนุกรรมการดูแลระยะยาวสำหรับผุ้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชนเทศบาลตำบลนาโหนด ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 12 คน ๆ ละ 200 บาท/ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับคณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 12 คนๆละ 4 ครั้งๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3.ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะอนุกรรมการฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณสนับสนุนการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชนเทศบาลตำบลนาโหนด และรับทราบความก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมปัญหาด้านสุขภาพจากประชาชน กลุ่ม องค์กร หน่วยงานต่าง ๆในพื้นที่ตำบลนาโหนด เพื่อนำปัญหาความต้องการมากำหนดประเด็นปัญหา สำหรับใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาโหนด โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน4 ชั่วโมง ๆละ 2 คน ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 50 คน ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่มสำหรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 50 คน ละ 2มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
4.ค่าป้ายโครงการ จำนวน1ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรม เช่น กระดาษบรูฟ ปากกาเคมี เป็นต้น เป็นเงิน 1,000 บาท
6. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนสุขภาพุมชนตำบล จำนวน 1 เล่ม
ปัญหาสุขภาพของประชาชนในตำบลนาโหนด ได้รับการแก้ไข ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 92,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด คณะอนุกรรมการ มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาท อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสามารถพิจารณาอนุมัติสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงาน กลุ่ม องค์กรภาคประชาชน ได้อย่างถุกต้อง เหมาะสม
2. แผนงาน/โครงการ ได้รับการอนุมัติงบประมาณ และสามารถใช้จ่ายงบประมาณได้มีเงินคงเหลือกองทุนไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินรายรับของปี
3.มีแผนสุขภาพชุมชนตำบลนาโหนด ที่มีความครอบคลุมปัญหาสุขภาพในพื้นที่และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สามารถดำเนินการได้เป็นรูปธรรม
4กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด มีการบริหารจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.มีการติดตามผลการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของเทศบาลตำบลนาโหนดอย่างต่อเนื่อง


>