กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมพลัง ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนจากเดิม ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพตนเอง อันจะทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรมลงและมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต จากข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ปี ๒๕61 พบว่าในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรืออำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 95 คน ได้รับการตรวจ HbA1C และมีค่า HbA1C อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้คือ น้อยกว่า 7% จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 41.05 และมีระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้(>70< 130mg/dl) 2 ครั้งติดต่อกัน จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ53.68 โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง จำนวน 34 คนพบว่าควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ไม่ได้ คือ มีค่า HbA1C มากกว่า 7% จำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 33.33 และควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ได้ คือมีค่าHbA1C น้อยกว่ากว่า 7% จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 146คน ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 22.60 และสืบเนื่องจากนโยบายหลักประกันสุขภาพ มีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือจึงได้จัดทำโครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2561 เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก เพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มขึ้น

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดลง 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ -ค่าวงล้อปิงปองจราจร 7 สี1 ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่ากราฟแม่เหล็กเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วย จำนวน 80 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วย จำนวน 80 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท -ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดกิจกรรมตรวจหาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
2.จัดกิจกรรมตรวจหาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ -ค่าชุดสอนการดูแลเท้า (กะละมัง ผ้าขนหนูผืนกลาง โลชั่น สบู่) 45 ชุดละ 80บาท = 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 3 3.จัดกิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมเยี่ยมบ้านชุมชน และหมอครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมเยี่ยมบ้านชุมชน และหมอครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 80 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 80 คน คนละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท -ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็น 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง
๒. ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
หรือมีค่า HbA1C ลดลง
๓. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการมีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
( ความดันโลหิต < 140/90 มม.ปรอท)
๔. สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มาร่วมกิจกรรม


>