กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมพลัง ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 62-L3339-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2018 - 30 กันยายน 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2019
งบประมาณ 29,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนจากเดิม ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพตนเอง อันจะทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรมลงและมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต จากข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ปี ๒๕61 พบว่าในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรืออำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 95 คน ได้รับการตรวจ HbA1C และมีค่า HbA1C อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้คือ น้อยกว่า 7% จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 41.05 และมีระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้(>70< 130mg/dl) 2 ครั้งติดต่อกัน จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ53.68 โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง จำนวน 34 คนพบว่าควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ไม่ได้ คือ มีค่า HbA1C มากกว่า 7% จำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 33.33 และควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ได้ คือมีค่าHbA1C น้อยกว่ากว่า 7% จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 146คน ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 22.60 และสืบเนื่องจากนโยบายหลักประกันสุขภาพ มีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือจึงได้จัดทำโครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2561 เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก เพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มขึ้น

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดลง 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,200.00 0 0.00
??/??/???? จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 0 5,600.00 -
??/??/???? 2.จัดกิจกรรมตรวจหาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 0 3,600.00 -
??/??/???? 3.จัดกิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมเยี่ยมบ้านชุมชน และหมอครอบครัว 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ๒. ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ หรือมีค่า HbA1C ลดลง ๓. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการมีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ( ความดันโลหิต < 140/90 มม.ปรอท) ๔. สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มาร่วมกิจกรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2018 10:31 น.