กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การจัดการสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงNCDsตำบลลางา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.59
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

5.22

จากผลการคัดกรองสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา ปีงบประมาณ 2561 พบว่า กลุ่มเป้าหมายอายุมากกว่า 35 ปี จำนวน 1996 คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูงจำนวน 1926 คน คิดเป็น 96.49 ในจำนวนนี้พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 435 คน คิดเป็น 22.59 และพบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 135 คน คิดเป็น 6.76
จากข้อมูลนี้ พบว่า กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้น สืบเนื่องจากปัจจัยด้านกรรมพันธ์ พฤติกรรมการบริโภคและวิถีชีวิตที่ขาดการออกกำลังกาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเดิม เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พร้อมทั้งการลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางกายและจิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนให้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนาและเครือข่ายเป็นต้นแบบในการจัดการและดูแลสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้

ร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่าร้อยกว่า 60 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิม

1.00
2 เพื่อให้กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูง มีความรู้ความเข้าใจด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยการเกิดโรคกลุ่ม NCDs ได้

ร้อยละ 70 มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้

1.00
3 เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเองของกลุ่มป่วย

ร้อยละ100ของกลุ่มป่วยได้รับการเรียนรู้การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและสามารถดูแลตัวเองได้

1.00
4 เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพและมีการพึ่งพาตนเองได้

เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพ พึ่งพาตนเองได้ 1 หมู่บ้าน

1.00
5 เกิดศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง

เกิดศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงของคนในชุมชน

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 3,510
กลุ่มผู้สูงอายุ 747
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคแก่กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูง ทั้งในชุมชนและโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคแก่กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูง ทั้งในชุมชนและโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส. ลดเสี่ยง ลดโรคในพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้าน มีเป้าหมายทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ได้เรียนรู้ถึงภาวะเสี่ยงด้านต่างๆ แนวทางการส่งเสริม ป้องกันโรค รวมทั้งปัจจัยของการก่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในตนเอง - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 200 คน X 25 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท -เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ราคา 2,800 บาท จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 5,600 บาท -เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล ราคา 2,000 บาท จำนวน 4 เครื่อง เป็นเงิน 8,000 บาท
รวมเป็นเงิน 18,600 บาท(หนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง มีการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 มีความรู้ สามารถนำไปใช้ได้ และร้อยละ 60 สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการตรวจคัดกรอง ติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18600.00

กิจกรรมที่ 2 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนความดันโลหิตสูง-เบาหวานแก่กลุ่มป่วยในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของรพ.สต.เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนความดันโลหิตสูง-เบาหวานแก่กลุ่มป่วยในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของรพ.สต.เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเองของกลุ่มป่วยแต่ละราย และเป็นการพบปะ ให้ความรู้ในด้านต่างๆเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและสามารถดูแลตนเองได้ (จำนวน 3 ครั้ง) - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 50 คน X 25 บาท X 6 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน X 50 บาท X 3 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท รวมเป็นเงิน15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของกลุ่มป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเอง และร้อยละ 70 ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15900.00

กิจกรรมที่ 3 ศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ศูนย์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการสร้างศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านสุขภาพ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่มและเป็นการสร้างกระแสในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน -การจัดนิทรรศการให้ความรู้ -การคัดกรองสุขภาพ -การติดตาม นัดหมาย -ค่าเครื่องวัดองค์ประกอบร่างกายเพื่อใช้ในการติดตามผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม,ผลของสภาวะสุขภาพเพื่อเป็นแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 1 เครื่อง ราคา 5,000 บาท -เครื่องออกกำลังกาย Air Bike Plus (จักรยานปั่นแบบลมมีเพาส์) เป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายแบบ Aerobic ส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและมวลกระดูก จำนวน 1 เครื่อง ราคา 4,000 บาท -เครื่องออกกำลังกาย Twit & Shape เป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายแบบ Aerobic ส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและมวลกระดูก จำนวน 1 เครื่อง ราคา 4,000 บาท -เครื่องออกกำลังกาย Fairtex magnatic elliptical (เครื่องเดินวงรี) เป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายแบบ Aerobic ส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและมวลกระดูก จำนวน 1 เครื่อง ราคา 8,000 บาท รวมเป็นเงิน21,000 บาท(สองหมื่นบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดศูนย์กลางการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงในชุมชนและร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพจากการเรียนรู้พบปะ และทำกิจกรรมภายในศูนย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2.ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนาสามารถเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
3.กลุ่มป่วยมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในการดูแลตนเองเพื่อการปรับตัวและลดภาวะแทรกซ้อน
4.เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพ 1 หมู่บ้าน ที่มีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงในการเกิดโรค
5.เกิดศูนย์การเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงในชุมชน


>