กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี

ม.3-7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

16.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

42.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้นปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมัน และหวานสาเหตุ คือ ความเคยชิน โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี พ.ศ. 2559 – 2561 สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 42 , 38 และ 11.76 ตามลำดับ และพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในปี พ.ศ.2559 - 2561 สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 16 , 14 และ 3.42 ตามลำดับด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มโรคเรื้อรัง เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ประชากรกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 5

5.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/โรคเรื้อรังต่าง ๆ

ประชากรกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/โรคเรื้อรังต่างๆ ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพ

ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพติดตามต่อเนื่อง ป้องกันภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มากกว่าร้อยละ 80

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
เก็บรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 5 หมู่บ้านในตำบลบุดี คือ หมู่ที่ 3-7

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 5 หมู่บ้านในตำบลบุดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการ แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร ด้านอารมณ์ และการออกกำลังกาย  จำนวน 200 คน แบ่งเป็น 5 รุ่น ภายในกิจกรรมประกอบด้วย 1) กิจกรรมประเมินภาวะ BMI วัดรอบเอว รอบสะโพก ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) และวัดความดันโลหิตสูงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 3) กิจกรรมออกกำลังกายในกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อติดตามประเมินผลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ หลังได้รับการอบรม ทุก 3-6 เดือน งบประมาณ : - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 200 คน x 75 บาท x 1 มื้อ = 15000.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน x 35 บาท x 2 มื้อ = 14000.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บาท/ชั่วโมง x 3 ชั่วโมง x 5 รุ่น = 4500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงลดลง
  • ผู้เข้าร่วมการอบรม ได้รับการติดตามประเมินผลสุขภาพ ทุก 3-6 เดือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- จำนวนประชาชนที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 10
- ประชาชนที่ร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม


>