กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเลิกบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเลิกบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลา

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติดเด็กและเยาวชน เป็นหมายของขบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด จะต้องดำเนินการการสอนหรือฝึก ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจและสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมส่วนข้อมูลบุหรี่ผู้นำศาสนา (2559) พบว่า ผู้นำศาสนาอิสลาม (อิหม่าม คอเต็บบิหล่าน)มีอัตราการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 40ในขณะที่ผู้นำศาสนาพุทธ (พระภิกษุ สามเณร) มีอัตราการสูบบุหรี่เพียง ร้อยละ 28 เท่านั้น และในกลุ่มชายอายุ 15ปีขึ้นไปพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในภาคใต้ สูงกว่าภาคอื่นๆ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ และที่ชัดเจนกว่านั้นพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในจังหวัดสตูล, ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส (ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม) อยู่ระหว่างร้อยละ 47-53 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 44 จากรายงานข้อมูล HDC (Health Data Center : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปี 2560 งานการเฝ้าระวัง ในการสำรวจความชุกของผู้สูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่าประชาชนไทยอายุ 15-70 ปี จำนวน 35,494 คน พบผู้สูบบุหรี่จำนวน 1,271 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58 หากวิเคราะห์จากข้อมูลเหล่านี้ก็พอสรุปได้โดยทางอ้อมว่ามุสลิมไทยมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าคนที่ไม่ใช่มุสลิมอาจมีหลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ มุสลิมสูบบุหรี่กันมากเพราะไม่มีคำสั่งห้ามการสูบบุหรี่ที่ชัดเจนในอิสลามเหมือนห้ามการดื่มเหล้า นับเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังในประชาชนชาวยะลา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมอง และโรคมะเร็งปอดซึ่งมีอัตราป่วยตายสูงกว่าหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย และจากการสำรวจในโรงเรียนธรรมวิทยา จังหวัดยะลา พบว่านักเรียนชายทั้งหมดจำนวน 1,967 คน พบนักเรียนชายที่เป็นนักสูบจำนวน624 คน จาก คิดเป็นร้อยละ 31.72 และมีบุคลกรชายในโรงเรียนทั้งหมดจำนวน 269 คน พบบุคลากรที่เป็นนักสูบ จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 32.34 ไม่พบติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ
จากสภาพปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนมีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทางชมรมธนาคารขยะได้เล็งเห็นผลต่อสุขภาพที่จะตามมา ประกอบกับหลักศาสนาที่ยังเข้าใจกันไม่ถูกต้องจึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเด็กนักเรียนและบุคลากรยังเป็นการป้องกันการเกิดนักสูบและติดสารเสพหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น ป้องกันการเสพยาติดชนิดอื่นๆ เสริมความรู้ในเรื่องโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากใช้สารเสพติดและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรที่ เป็นนักสูบในโรงเรียน
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
  2. ลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรที่เป็นนักสูบในโรงเรียนร้อยละ 10
100.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจการป้องกันบุหรี่
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจโทษของพิษภัยบุหรี่สารเสพติด ร้อยละ 80
80.00
3 3. เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ
  1. อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ10
10.00
4 4. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 31/03/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลาแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะอาจารย์ จำนวน 20 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลาแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะอาจารย์ จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน   20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท                                       เป็นเงิน  500 บาท 2.ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ และเครื่องเขียน                                       เป็นเงิน  500 บาท


รวมเป็นเงิน 1,000 บาท (เงินหนึ่งพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนนักเรียนชาย (นักสูบหน้าเก่า) จำนวน150คนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 20 คน รวมเป็น 170 คน ระยะเวลา 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนนักเรียนชาย (นักสูบหน้าเก่า) จำนวน150คนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 20 คน รวมเป็น 170 คน ระยะเวลา 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน170คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ 30 บาท เป็นเงิน 10,200 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 170 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท
    เป็นเงิน 13,600 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย (ความรู้ด้านศาสนาและจริยธรรมช่วงเช้า) จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย (ความรู้พิษภัยบุหรี่และสารเสพติดช่วงบ่าย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท
    เป็นเงิน 1,800บาท
  4. ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์ เป็นเงิน 4,500 บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารจัดทำคู่มือประกอบการอบรมจำนวน 170 เล่ม ๆ ละ 10 บาท
    เป็นเงิน1,700 บาท
  6. ค่าจัดซื้ออุปกรณ์สาธิตฐานการเรียนรู้การเรียนรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่และสุขภาพ จำนวน 7 ฐานประกอบด้วย
    7.1 ฐานปอดสาธิตพิชิตบุหรี่

- ถุงมือยาง 1กล่อง - บุหรี่ 10ซอง - ที่คีบบุหรี่10อัน - แผ่นอะครีลิค
ขนาด 23 x 32 เซนติเมตร 5แผ่น - กระดาษกรอง 2 กล่อง - ที่ปั๊มมือยางชนิดบีบ 5ชุด - พลาสติกดำครอบ5ชุด - ปากกาอะครีลิค2ด้าม - ไฟแช็ก 2อัน - ผ้าปิดจมูก 6กล่อง 7.2 ฐานบุหรี่ร้ายทำลายสุขภาพ - กระดาษหนังไก่ 3รีม - สีไม้10ชุด - กบเหลาสีไม้ และ ยางลบดินสอ 10อัน 7.3 ฐานเกมบุหรี่
- ลูกโป่งขนาดใหญ่ 600ลูก - กระดาษดับเบิล A 2รีม - นกหวีด 2 อัน - เชือกสายได้ดิบ 10เมตร 7.4 ฐานอาหารเพื่อสุขภาพและเพื่อลดการอยากบุหรี่ - ผัก ผลไม้สด หลากหลายชนิด - ถาดอลูมีเนียมเล็ก ๆ1 โหล - พลาสติกหุ้มอาหาร 1ม้วน 7.5 ฐานวิธีการทำลูกอมเพื่อเลิกบุหรี่ - น้ำตาล5กก. - แบะแซ5กก. - กระดาษแก้ว20 แผ่น - สมุนไพรหญ้าดอกขาว - กลิ่นมะนาวกลิ่นกล้วยกลิ่นส้ม
กลิ่นเมนทอลชนิดละ 1 ขวด 7.6 ฐานวิธีการทำน้ำสมุนไพรและคุ๊กกี้เลิกบุหรี่ - แป้งเค้ก 5กก. - เนยสด 5กก. - ไข่60ฟอง - ผงฟู 5ซอง - กลิ่นวานิลา 1ขวด - กระดาษไข10แผ่น - สมุนไพรหญ้าดอกขาวและสมุนไพรอื่น ๆ - น้ำตาล 10กก. - น้ำดื่มขวดใหญ่10ขวด 7.7 ฐานให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่
-ไม่ขอเบิกค่าใช้จ่าย ดังนั้นค่าจัดซื้ออุปกรณ์สาธิตฐานการเรียนรู้เรื่องของกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรเกี่ยวกับยาเสพติด บุหรี่และการป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลาจำนวน7 ฐาน เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน38,600 บาท (เงินสามหมื่นแปดพันหกร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดเสวนาการเลิกบุหรี่และการประกวดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่และการติดตามการเลิกสูบบุหรี่หลังจากอบรม 6 เดือน จำนวน 150 คน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน รวมเป็น 170 คน ใช้ระยะเวลาครึ่งวัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดเสวนาการเลิกบุหรี่และการประกวดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่และการติดตามการเลิกสูบบุหรี่หลังจากอบรม 6 เดือน จำนวน 150 คน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน รวมเป็น 170 คน ใช้ระยะเวลาครึ่งวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน   170 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท                                       เป็นเงิน  4,250 บาท
  2. ค่าประกาศนียบัตร จำนวน 150  ฉบับ                                       เป็นเงิน  1,000 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรการเสวนา จำนวน 2 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท
                                         เป็นเงิน 2,400 บาท
  4. ค่าเงินรางวัลสำหรับบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ รวม 24 รางวัล ๆ ละ 500 บาท
                                         เป็นเงิน  12,000 บาท รวมเป็นเงิน 19,650 บาท (เงินหนึ่งหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 59,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยสารเสพติด บุหรี่และโรคภูมิคุ้มกันบกร่อง
2. สามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้จากฐานการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับตนเองเพื่อเลิกบุหรี่และสารเสพติด
3. มีความรู้เรื่องโทษ อันตรายจากสารเสพติดและการป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
4. นักสูบในโรงเรียนมีจำนวนลดลง


>