กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเลิกบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 61 – L7452 – 2 – 27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 59,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซุฮินี ซาเระ เลขานักเรียนชมรมธนาคารขยะ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนูรไอดา หะมะ ประธานนักเรียนชมรมธนาคารขยะโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติดเด็กและเยาวชน เป็นหมายของขบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด จะต้องดำเนินการการสอนหรือฝึก ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจและสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมส่วนข้อมูลบุหรี่ผู้นำศาสนา (2559) พบว่า ผู้นำศาสนาอิสลาม (อิหม่าม คอเต็บบิหล่าน)มีอัตราการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 40ในขณะที่ผู้นำศาสนาพุทธ (พระภิกษุ สามเณร) มีอัตราการสูบบุหรี่เพียง ร้อยละ 28 เท่านั้น และในกลุ่มชายอายุ 15ปีขึ้นไปพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในภาคใต้ สูงกว่าภาคอื่นๆ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ และที่ชัดเจนกว่านั้นพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในจังหวัดสตูล, ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส (ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม) อยู่ระหว่างร้อยละ 47-53 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 44 จากรายงานข้อมูล HDC (Health Data Center : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปี 2560 งานการเฝ้าระวัง ในการสำรวจความชุกของผู้สูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่าประชาชนไทยอายุ 15-70 ปี จำนวน 35,494 คน พบผู้สูบบุหรี่จำนวน 1,271 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58 หากวิเคราะห์จากข้อมูลเหล่านี้ก็พอสรุปได้โดยทางอ้อมว่ามุสลิมไทยมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าคนที่ไม่ใช่มุสลิมอาจมีหลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ มุสลิมสูบบุหรี่กันมากเพราะไม่มีคำสั่งห้ามการสูบบุหรี่ที่ชัดเจนในอิสลามเหมือนห้ามการดื่มเหล้า นับเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังในประชาชนชาวยะลา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมอง และโรคมะเร็งปอดซึ่งมีอัตราป่วยตายสูงกว่าหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย และจากการสำรวจในโรงเรียนธรรมวิทยา จังหวัดยะลา พบว่านักเรียนชายทั้งหมดจำนวน 1,967 คน พบนักเรียนชายที่เป็นนักสูบจำนวน624 คน จาก คิดเป็นร้อยละ 31.72 และมีบุคลกรชายในโรงเรียนทั้งหมดจำนวน 269 คน พบบุคลากรที่เป็นนักสูบ จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 32.34 ไม่พบติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ
จากสภาพปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนมีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทางชมรมธนาคารขยะได้เล็งเห็นผลต่อสุขภาพที่จะตามมา ประกอบกับหลักศาสนาที่ยังเข้าใจกันไม่ถูกต้องจึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเด็กนักเรียนและบุคลากรยังเป็นการป้องกันการเกิดนักสูบและติดสารเสพหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น ป้องกันการเสพยาติดชนิดอื่นๆ เสริมความรู้ในเรื่องโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากใช้สารเสพติดและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรที่ เป็นนักสูบในโรงเรียน
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
  2. ลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรที่เป็นนักสูบในโรงเรียนร้อยละ 10
100.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจการป้องกันบุหรี่
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจโทษของพิษภัยบุหรี่สารเสพติด ร้อยละ 80
80.00
3 3. เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ
  1. อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ10
10.00
4 4. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,250.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลาแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะอาจารย์ จำนวน 20 คน 0 1,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนนักเรียนชาย (นักสูบหน้าเก่า) จำนวน150คนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 20 คน รวมเป็น 170 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 38,600.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 จัดเสวนาการเลิกบุหรี่และการประกวดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่และการติดตามการเลิกสูบบุหรี่หลังจากอบรม 6 เดือน จำนวน 150 คน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน รวมเป็น 170 คน ใช้ระยะเวลาครึ่งวัน 0 19,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยสารเสพติด บุหรี่และโรคภูมิคุ้มกันบกร่อง
  2. สามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้จากฐานการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับตนเองเพื่อเลิกบุหรี่และสารเสพติด
  3. มีความรู้เรื่องโทษ อันตรายจากสารเสพติดและการป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  4. นักสูบในโรงเรียนมีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 13:25 น.