2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงจากการบริโภคอาหารที่ประกอบปรุงเพื่อรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคนอกบ้านมากขึ้น ประชาชนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้จำหน่ายอาหารที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจำหน่ายอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษลงสู่อาหารได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียน ซึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยและยังไม่ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตัวเอง อีกทั้งยังมีความจำเป็นต้องบริโภคอาหารที่มีราคาถูก อร่อย และรวดเร็ว ฉะนั้น นักเรียนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดปลอดภัยเนื่องจากการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษลงในอาหารได้
ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในเขตเทศบาลนครยะลา ปีพ.ศ.2559-2560 พบว่ามีอัตราป่วย 505.52 และ 501.3 ต่อแสนประชากร ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย แต่ก็ยังจัดอยู่ในอันดับ 1 ของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (ศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังโรคโรงพยาบาลศูนย์ยะลา) ประกอบกับข้อมูลจำนวนนักเรียนที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงของฝ่ายการพยาบาลโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ในปีงบประมาณ 2560 พบว่ามีนักเรียนที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง จำนวนทั้งสิ้น 150 คน เป็นนักเรียนชาย จำนวน 50 คน และนักเรียนหญิง จำนวน 100 คน และโรงเรียนมีร้านจำหน่ายอาหารจำนวน 10 ร้าน จัดจำหน่ายอาหารให้แก่นักเรียนจำนวน 6,130 คน และบุคลากรจำนวน 500 คน โดยผู้จำหน่ายอาหารทั้ง 10 ร้าน ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัย เนื่องจากผู้จำหน่ายอาหารหลายรายยังปฏิบัติตนไม่ถูกต้องในระหว่างการเตรียมประกอบปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายให้กับนักเรียน อีกทั้งนักเรียนก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
ดังนั้น ทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารและส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โดยการจัดกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการสามัญ และแกนนำนักเรียน เพื่อนำความรู้ความเข้าใจไปพัฒนาการจำหน่ายอาหารและถ่ายทอดสู่การเรียนการสอนไปยังนักเรียนได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมทั้งโรงเรียน ท้ายที่สุดก็จะส่งผลถึงนักเรียนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากร้านจำหน่ายอาหารในโรงเรียนที่ได้มาตรฐานและรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2018
กำหนดเสร็จ 31/03/2019
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและการบริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายอาหารและบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัย
3. ผู้เข้ารับการอบรมมีการถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนในโรงเรียนได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมทั้งโรงเรียน