กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารและส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
รหัสโครงการ 61 – L7452 – 2 – 31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 42,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีดา เจ๊ะอาแว กรรมการชมรมธนาคารขยะโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซุฮินี ซาเระ เลขานักเรียนชมรมธนาคารขยะ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงจากการบริโภคอาหารที่ประกอบปรุงเพื่อรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคนอกบ้านมากขึ้น ประชาชนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้จำหน่ายอาหารที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจำหน่ายอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษลงสู่อาหารได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียน ซึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยและยังไม่ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตัวเอง อีกทั้งยังมีความจำเป็นต้องบริโภคอาหารที่มีราคาถูก อร่อย และรวดเร็ว ฉะนั้น นักเรียนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดปลอดภัยเนื่องจากการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษลงในอาหารได้ ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในเขตเทศบาลนครยะลา ปีพ.ศ.2559-2560 พบว่ามีอัตราป่วย 505.52 และ 501.3 ต่อแสนประชากร ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย แต่ก็ยังจัดอยู่ในอันดับ 1 ของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (ศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังโรคโรงพยาบาลศูนย์ยะลา) ประกอบกับข้อมูลจำนวนนักเรียนที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงของฝ่ายการพยาบาลโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ในปีงบประมาณ 2560 พบว่ามีนักเรียนที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง จำนวนทั้งสิ้น 150 คน เป็นนักเรียนชาย จำนวน 50 คน และนักเรียนหญิง จำนวน 100 คน และโรงเรียนมีร้านจำหน่ายอาหารจำนวน 10 ร้าน จัดจำหน่ายอาหารให้แก่นักเรียนจำนวน 6,130 คน และบุคลากรจำนวน 500 คน โดยผู้จำหน่ายอาหารทั้ง 10 ร้าน ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัย เนื่องจากผู้จำหน่ายอาหารหลายรายยังปฏิบัติตนไม่ถูกต้องในระหว่างการเตรียมประกอบปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายให้กับนักเรียน อีกทั้งนักเรียนก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
ดังนั้น ทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารและส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โดยการจัดกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการสามัญ และแกนนำนักเรียน เพื่อนำความรู้ความเข้าใจไปพัฒนาการจำหน่ายอาหารและถ่ายทอดสู่การเรียนการสอนไปยังนักเรียนได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมทั้งโรงเรียน ท้ายที่สุดก็จะส่งผลถึงนักเรียนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากร้านจำหน่ายอาหารในโรงเรียนที่ได้มาตรฐานและรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียน ครูวิชาการ สามัญและแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร
  1. ผู้เข้ารับการอบรมครบร้อยละ 100  (จำนวน 162 คน)
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80
80.00
2 2. เพื่อให้ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียนสามารถพัฒนาร้านจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐาน
  1. ผู้จำหน่ายอาหารมีการพัฒนาร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 100
100.00
3 3. ครูวิชาการสามัญสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่นักเรียนผ่านรายวิชาการเรียนการสอนได้
  1. ครูวิชาการสามัญสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดในหลักสูตรการเรียนการสอนร้อยละ 100
100.00
4 4. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85
85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะครูวิชาการสามัญ จำนวน 32 คน เพื่อชี้แจงการจัดทำโครงการ การเตรียมความพร้อมนำหลักสูตรเข้าสู่ระบบการเรียนการสอน 0 800.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 162 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 41,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและการบริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายอาหารและบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัย
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีการถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนในโรงเรียนได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมทั้งโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 14:00 น.