กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกเคียน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในเยาวชน รพ.สต.บ้านบือราเป๊ะ ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกเคียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ

นางอานิต้าอามีเราะ
นางสาวนูร์รอยฮันซ์เจะแม
นางสาวอัลฟาดีละห์สาอิ
นางสาวนารีมาลย์แวนาแว
นางฮามาเน๊าะเลาะปากา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน 0-6 ปี ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

33.33
2 จำนวนเด็กเล็ก 0-6 ปี ที่มีปัญหาฟันผุ

 

70.00
3 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน 0-6 ปี ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

 

73.50

อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก โดยเด็กปฐมวัยต้องมีความพร้อมของ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ –จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีโครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนสูงขึ้น และสุขภาพช่องปากของเด็กมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวมของเด็ก การมีสุขภาพช่องปากที่ดี ฟันไม่ผุ ส่งผลดีต่อระบบการย่อยอาหาร การพูด การยิ้มของเด็ก สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก นอกจากนี้ หากฟันน้ำนมหลุดไปตามวัยที่ควร จะทำให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรงตำแหน่งลดปัญหาฟันซ้อนเก ฟันคุด หรือฟันฝังในอนาคตได้ โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ เป็นมาตั้งแต่ก่อนมาสถานศึกษาพบว่า พฤติกรรมด้านสุขภาพที่เสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคในช่องปากนั้น เนื่องจากการบริโภคขนมหวาน การเลี้ยงลูกด้วยนมขวดผิดวิธี ขาดการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองเด็กต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่นการแปรงฟันที่ถูกวิธีและสม่ำเสมอขาดการสอนและกระตุ้นให้แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอจากที่บ้านและสถานรับเลี้ยง ประกอบกับสถานที่รับดูแลเด็กกลุ่มนี้ไม่มีกิจกรรมส่งเสริมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในสถานรับเลี้ยง จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กอายุ 0 –3ปี ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราป๊ะพบว่า ปัญหาความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็ก 0 – 6 ปี เป็นปัญหาหนึ่งซึ่งชุมชนให้ความสำคัญ พบว่า สาเหตุหลักที่ผู้ปกครองไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีน เนื่องจากหลังฉีดแล้วเด็กมีไข้ ทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ และผู้ปกครองขาดความตระหนัก ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ ในเด็กอายุ 0 – 6 ปี โดยใช้กระบวนการหลัก คือ การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 6 ปี ในเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การพัฒนาระบบบริการในคลินิกเด็กดี ตลอดจนการติดตามเชิงรุกเพื่อฉีดวัคซีนในเด็กที่ผู้ปกครองไม่ยอมพามาฉีดวัคซีนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราป๊ะ จึงได้เห็นความสำคัญในส่งเสริมป้องกันโรคฟันผุและ เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยก่อนเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย ซึ่งมีความจำเป็นต้องดูแลทำอย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก 0-6 ปี ได้รับวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

 

0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน 0-6 ปี ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

0.00
3 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก 0-6 ปี ที่มีปัญหาฟันผุ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม ให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-6 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรม ให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-6 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม 2 รุ่น
รุ่นที่ 1 เป้าหมาย ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-6 ปี 100 คน
ค่าวิทยากร 600บาทx1คนx6 ชม= 3,600 บาท ค่าอาหาร 50บาทx1มื้อx100 คน = 5,000 ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 25บาทx2 มื้อx 100 คน = 5,000 ค่าวัสดุอบรม – กระเป๋าผ้า 70บาท x 100ใบ = 7,000
ปากกา 5บาทx 100ด้าม = 500 กระดาษ A4 จำนวน1รีม =160
รุ่นที่ 2 ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-6 ปี 100 คน ค่าวิทยากร 600บาทx2คนx6 ชม= 3,600 บาท ค่าอาหาร 50บาทx1มื้อx100 คน = 5,000 ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 25x2 มื้อx 100 คน = 5,000 ค่าวัสดุอบรม – กระเป๋าผ้า 70บาท x 100 ใบ= 7,000 ปากกา 5บาทx 100ด้าม =500 กระดาษ A4 จำนวน1รีม =160 ค่าป้ายไวนิลอบรม ขนาด 1.2x3 เมตร 1 ผืน = 900
รวม45,330 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>