กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี

โรงเรียนตาดีกาทั้ง 3 แห่ง และพื้นที่ หมู่ที่ 1,2,8, ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

3,212.00

ในสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกซึ่งกำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก และได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งนำความสูญเสียแก่หลายครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติที่ต้องสูญเสียบุคลากรที่ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน อันเป็นอนาคตของประเทศ ซึ่งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5 -14 ปีแต่ปัจจุบัน ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วยการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้

ด้วย ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบสุขภาพ ปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ “ระบบสุขภาพยั่งยืนประชาชนสุขภาพดีเจ้าหน้าที่มีความสุข” ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพโดยมีเป้าประสงค์หลัก เพื่อประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค มีพฤติกรรมและดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งกำหนดตัวชี้วัดอัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร ประกอบกับโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข

ตำบลบุดีเป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จากสถิติที่ผ่านมา พบว่า ปี 2557 – 2561 พบผู้ป่วย จำนวน 9 ราย3 ราย 14 ราย 2 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ ซึ่งค่ามัธยฐาน 5 ปี คือ 280.19 , 93.39 , 435.86 , 62.26 และ 93.39 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนและโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วนร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

3212.00 3.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไป 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสร้างแกนนำนักเรียนและเยาวชน ป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างแกนนำนักเรียนและเยาวชน ป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนx35บาทx 2มื้อx3 รุ่น เป็นเงิน 8,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 40 คนx 75 บาทx 1มื้อ x 3 รุ่น เป็นเงิน 9,000 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้จำนวน2,000 แผ่น x 1 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ ขนาด 1 x 2 เมตรจำนวน 8 แผ่น x 500 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายมีตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  • มีแกนนำนักเรียนและเยาวชน ป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมทีม SRRT

ชื่อกิจกรรม
อบรมทีม SRRT
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 40 คนx 75 บาทx 1 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนx35บาทx 2มื้อx1 วัน เป็นเงิน 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ สามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในบ้าน โรงเรียน รวมถึงชุมชนของตนเองได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 3 พ่นหมอกควันทำลายตัวแก่ยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันทำลายตัวแก่ยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างพ่นหมอกควัน จำนวน 2 คน x 10 วัน x 300 บาท  เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน  เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง และอัตราป่วยไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร
  • ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพือลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
2.เพื่อลดควาชุกของลูกน้ำยุงลาย
3.เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจชองชุมชน ในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>