กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 62-L4135-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี
วันที่อนุมัติ 17 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาอิชะห์ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
3,212.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกซึ่งกำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก และได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งนำความสูญเสียแก่หลายครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติที่ต้องสูญเสียบุคลากรที่ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน อันเป็นอนาคตของประเทศ ซึ่งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5 -14 ปีแต่ปัจจุบัน ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วยการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้

ด้วย ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบสุขภาพ ปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ “ระบบสุขภาพยั่งยืนประชาชนสุขภาพดีเจ้าหน้าที่มีความสุข” ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพโดยมีเป้าประสงค์หลัก เพื่อประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค มีพฤติกรรมและดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งกำหนดตัวชี้วัดอัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร ประกอบกับโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข

ตำบลบุดีเป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จากสถิติที่ผ่านมา พบว่า ปี 2557 – 2561 พบผู้ป่วย จำนวน 9 ราย3 ราย 14 ราย 2 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ ซึ่งค่ามัธยฐาน 5 ปี คือ 280.19 , 93.39 , 435.86 , 62.26 และ 93.39 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนและโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วนร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

3212.00 3.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 40,700.00 3 40,700.00
15 ก.พ. 62 อบรมทีม SRRT 40 7,300.00 7,300.00
24 ก.พ. 62 ประชุมสร้างแกนนำนักเรียนและเยาวชน ป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน 120 23,400.00 23,400.00
15 - 24 มี.ค. 62 พ่นหมอกควันทำลายตัวแก่ยุงลาย 0 10,000.00 10,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพือลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อลดควาชุกของลูกน้ำยุงลาย 3.เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจชองชุมชน ในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2561 00:00 น.