กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

กองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ

1 กองการศึกษา ฯ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแย 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำหอม 6 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแมะแซ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย

 

5.00

การพัฒนาเด็กและเยาวชนได้มุ่งเน้นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องที่จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีตามมาด้วย เด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ไปพร้อม ๆกัน โดยโภชนาการที่เหมาะสมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะเด็กวัยนี้ ซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสมองโดยเฉพาะพัฒนาการสมองในช่วง 3 ปี ขวบแรก การให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสมมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเด็ก คือ อาหารต้องได้ครบ 5 หมู่ในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอเหมาะสมกับวัยทุกวัน โดยมีอาหารหลัก 5 หมู่ ที่หลากหลายและอาหารว่างไม่เกิน2 มื้อ นม 2-3 แก้วต่อวัน หลักการเลือกรับประทานอาหารสำหรับลูกน้อยควรจัดอาหารให้เด็กบริโภคให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญให้ครบถ้วนได้สัดส่วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายให้บริโภคอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมจุบจิบผู้ปกครองควรให้ความสนใจกับสภาพจิตใจของเด็กเพราะมีผลกระทบถึงการกินอาหารและภาวะโภชนาการของเด็ก จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคต และนิสัยในการบริโภคจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของและสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน เพราะเด็กเล็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบอาหารหรือผู้ที่สัมผัสอาหาร ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation)ไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรคลงสู่อาหารฉะนั้น การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณค่า คุณภาพ ความปลอดภัยของอาหาร ของผู้ประกอบหารหารหรือผู้สัมผัสอาหาร

ดังนั้น กองการศึกษาฯ อบต. ดุซงญอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการอาหารดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพหนูน้อย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอเพื่อเป็นการดูแลสุขาภิบาลอาหาร อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบหารและผู้ปกครอง ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกและให้บริโภคอาหารที่ดีเหมาะสมกับวัยของเด็กช่วงวัยนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจการใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการมากขึ้น

ร้อยละ 85 ของผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจการใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการมากขึ้น

239.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

ร้อยละ 85 ของผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

239.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานอาหารกลางวันที่ดี มีคุณภาพ

ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบอาหารกลางวันจัดเมนูอาหารที่ดี มีคุณภาพ ให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 234
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบอาหารกลางวัน และผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนา 239

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/04/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร ในการอบรมโครงการฯจำนวน 3 ช.ม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดอบรมกลุ่มเป้าหมายจำนวน239 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 11บาทเป็นเงิน2,629 บาท
  3. ค่าวัสดุในการอบรม เช่น แผ่นพับรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยสมุดดินสอ ปากกาแฟ้มใสกระดาษ A4เป็นต้นจำนวน239 ชุด ๆ ละ 20บาทเป็นเงิน4,780 บาท
  4. ค่าจัดซื้อวัสดุสาธิตและฝึกปฏิบัติในการประกอบอาหาร เช่น ขนมปังแผ่น ปูอัดแตงกวา แครอทมายองเนส กล้วยหอมน้ำตาลเนย ไมโลซองนมข้นหวาน ซอสช๊อคโกแลต จำนวน3,240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ของผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจการใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการมากขึ้น
  2. ผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง สามารถ จัดเมนูอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11549.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผลการจัดเมนูอาหารกลางวันและอาหารว่างในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการจัดเมนูอาหารกลางวันและอาหารว่างในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและประเมินผลการจัดเมนูอาหารกลางวันและอาหารว่างในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยสุ่มตรวจคุณภาพอาหารกลางวันแต่ละ ศูนย์ฯๆละ 1-2 วัน/สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2562 พร้อมแนะนำการจัดเมนูอาหารกลางวันให้มีคุณภาพต่อไป งบประมาณดำเนินงาน  0 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สามารถจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
  2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานอาหารกลางวันที่ดี มีคุณภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,249.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด อบต. ดุซงญอ มีความรู้ความเข้าใจ การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการในเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น
2. ผู้ประกอบอาหารและผู้ปกครอง สามารถจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมตามตามหลักโภชนาการในเด็กปฐมวัยได้
3. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานอาหารกลางวันที่ดี มีคุณภาพ


>