กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เขากลอยรวมใจขจัดภัยไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านเขากลอยตก ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

1.นาย สมศักดิ์ เทพกูล ประธาน กม. (ผู้ใหญ่บ้าน)
2.นาย ศุภชัย สุดเอื้อม รองประธาน กม. คนที่ 1
3.นาง แม้นมาตร เทพวรรณ์รองประธาน กม.คนที่ 2
4.นาย จรูญ รัตนวรรณหน.คณะกรรมการด้านการปกครองฯ
5.น.ส.หนูวิญผ่องผุด ประธาน อาสาสมัครสาธารณสุข

หมู่ที่ 8 บ้านเขากลอยตก ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาโดยตลอด ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกมีการระบาดกระจายไปทั่วประเทศ ทุกจังหวัดและอำเภอ การกระจายของโรคมีการเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2561 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 25 กันยาน 2561 จำนวน 59,104 ราย โดยพบว่าภาคใต้มีจำนวนผู้ป่วย 8,405 ราย โดยในจังหวัดสงขลา ณ วันที่ 25 กันยาน 2561 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1,133 ราย (กระทรวงสาธารณสุข, 2561)
ชุมชนบ้านเขากลอยตก หมู่ที่ 8 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยในช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ. 2561 พบผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจำนวน 18 ราย (รพ.สต.ท่าข้าม, 2561) ซึ่งการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะมียุงลายเป็นพาหะนำโรค จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 110 คน 82 ครัวเรือน พบว่า ร้อยละ 46 มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่เหมาะสม, ร้อยละ 77 มีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายไม่เหมาะสม จากการสำรวจสิ่งแวดล้อม พบว่า ร้อยละ 10 มีน้ำขังในภาชนะและวัสดุที่ใช้แล้ว และจากการทำประชาคมหมู่บ้านเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 โดยมีตัวแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม บุคคลการทางสุขภาพจากรพ.สต. กลุ่มผู้นำชุมชนและประชาชน ได้มีมติในที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ว่าควรร่วมกันแก้ไข้ปัญหาเรื่องโรคไข้เลือดออก โดยต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมและตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาโรคไข้เลือด เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินการป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสาเหตุ ทางกลุ่มจึงคิดโครงการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง เห็นความสำคัญ และเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อรณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครัวเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ข้อที่ 3 เพื่อสอนสาธิตการทำสเปรย์ฉีดตัวไล่ยุงจากผิวมะกรูดและตะไคร้หอม
ข้อที่ 4 เพื่อคัดเลือกบ้านตัวอย่างปลอดลูกน้ำยุงลาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 รณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
1 รณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย - ให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ค่าสติกเกอร์ (25 บาท x 80 แผ่น) 2,000 บาท ค่าป้ายไวนิล (250 บาท x 5 แผ่น) 1,250 บาท ค่าแผ่นพับให้ความรู้ (1 บาท x 80 แผ่น) 80 บาท ค่าวัสดุสำนักงาน 280 บาท ค่าอาหารว่าง (25 บาท x 40 คน x 2 มื้อ) 2,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน (40 บาท x 18 คน x 1 มื้อ) 720 บาท 1.2 กิจกรรมย่อย - ประเมินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ครั้งที่ 1 ค่าถ่ายเอกสาร (1 บาท x 80 แผ่น) 80 บาท 1.3 กิจกรรมย่อย - ประเมินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ครั้งที่ 2 ค่าถ่ายเอกสาร (1 บาท x 80 แผ่น) 80 บาท ค่าเกียรติบัตร (10 บาท x 17 แผ่น) 170 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6660.00

กิจกรรมที่ 2 2. สอนสาธิตการทำสเปรย์ฉีดตัวไล่ยุง

ชื่อกิจกรรม
2. สอนสาธิตการทำสเปรย์ฉีดตัวไล่ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิล (250 บาท x 1 แผ่น) 250 บาท ขวดสเปรย์ (55 บาท x 3 ขวด) 165 บาท แอลกอฮอล์ แปลงสภาพ (140 บาท x 4 ขวด) 560 บาท น้ำมันตะไคร้หอม (120 บาท x 2 ขวด) 240 บาท การบูร (85บาท x 2 ถุง) 170 บาท มะกรูด (60บาท x 1 กิโลกรัม) 60 บาท ตะไคร้ (10 บาท x 4 กำ) 40 บาท ผ้าข้าวบาง (30 บาท x 1 ผืน) 30 บาท ค่าอาหารว่าง (25 บาท x 18 คน x 1 มื้อ) 450 บาท ค่าอาหารกลางวัน (40 บาท x 18 คน x 1 มื้อ) 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2685.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,345.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. ครัวเรือนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายเป็นนิสัย
3. ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน


>