กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลจะโหนง

1. นายประถมประทุมมณี
2. นายวิมลทองชนะ
3. นางอุทัยเอียดวารี
4. นางสุกัญญาเอียดวารี
5. นางสายพิณจันทองสุข
6. นางผยอมจันทรักษ์

ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

19.84
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

48.91

ภัยเงียบของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการและเสียชีวิต ตลอดจนเป็นภาระด้านงบประมาณในการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดัุงจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐ เอกชนและสถานบริการทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมภูมิ จนถึงโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยกลุ่มนี้ ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรเพ่ิมขึ้นอย่างต่อเนื่องให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ในขณะที่งบประมาณสของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรฐานเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ - อัมพาต โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคในกลุ่มเป้าหมายคือประชากรกลุ่มตัวอย่างอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคน ด้วยการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถาม การวัดความดันโลหิต การช่างน้ำหนัก วัดความสูง การวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรค โดยบุคลากร กองสาธารณสุข เพื่อที่จะมีการดำเนินนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรค ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยระยะยาว พร้อมบันทึกข้อมูลโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรค ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลจะโหนงเพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตตำบลจะโหนง เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง และส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เข้าใจหลักการดำเนินชึวิต สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและครอบครัวเพื่อลดการเกิดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน ลดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องเป็นภาระตลอดไป และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน19.84

2871.00 2871.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง 48.91

2871.00 2871.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวอื่น ๆ

ทำให้ครอบครัวใกล้เคียงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้

2871.00 2871.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2,871
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2019

กำหนดเสร็จ 31/12/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ/คัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ/คัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดซื้อเครื่อง่เจาะปลายนิ้วเพื่อหาน้ำตาลในเลือด ราคาเครื่องละ 2,500.- บาท จำนวน 4 เครือง เป็นเงิน10,000.- บาท
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการ ค่าอาหาร จำนวน 129 คน ๆ ละ 70.- บาท เป็นเงิน 9,030.- บาท
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 129 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ25.- บาท เป็นเงิน 6,450.- บาท
  4. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600.- บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท
  5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1*1.5 เมตร จำนวน 12 ป้าย ๆ ละ 200.- บาท เป็นเงิน 2,400.- บาท
  6. ค่าเอกสารต่าง ๆจำนวน 2,745.- บาท
  7. ค่าอาหารว่างและเครื่ีองดื่ม (ในวันที่คัดกรอง) จำนวน 2,871 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 71,775.- บา
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ ได้จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
ผลลัพธ์ ได้ชี้แจงรายละเอียดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดหรือรักษาอาการของโรคแต่ละคนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
106000.00

กิจกรรมที่ 2 แกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความสมัครใจ

ชื่อกิจกรรม
แกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความสมัครใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมผู้สมัครใจ จำนวน 11 หมู่ ๆ ละ 40 คน จำนวน 440 คน
  2. ติดตามโดยผ่านกระบวนการ การประชุม/ทบทวนพฤติกรรม ค้นหาปัญหาอุุปสรรคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในรอบ 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 440 คน ๆ ละ 3 มื้อ ๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 33,000.- บาท
  5. ค่าเอกสารติดตาม/ประเมิน เป็นเงิน 2,200.- บาท
  6. ค่าเอกสารการประชุม จำนวน 440 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 8,800.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ ได้ลงพื้นที่เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่เป็นโรคแต่ละคนได้อย่างใกล้ชิด ผลลัพธ์ คือ สามารถลดจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 150,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 90 ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนกลุ่่มเสี่ยงได้รับการขึ้นทะเบียน และกลุ่มสงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
3. แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการประเมินก่อน-หลังการประเมิน
4. ชมรมสร้างสุขภาพมีกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี
5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>