กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอุ่นไอรักอ้อมอกแม่สู่ลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีตั้งครรภ์ / หญิงหลังคลอดในเขตพื้นที่

 

80.00

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็กโดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่นและพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอดสายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้ แม่ไม่ทอดทิ้งลูกเลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่ มี สุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต นมแม่คือหยดแรกของสายใยรักแห่งครอบครัว”
การส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความรักความอบอุ่น ทารกได้รับการดูแลตั้งแต่ในครรภ์ จนคลอดได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อันมีคุณค่าต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตดีสถานการณ์ในรพ.สต.บ้านท่าจีน ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ที่ มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นพบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 60
ดังนั้นเพื่อให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นบรรลุตามเป้าหมาย รพ.สต.บ้านท่าจีน ตำบลน้ำน้อยได้จัดทำโครงการ“อุ่นไอรักอ้อมอกแม่สู่ลูก”ปี 2562 โดยร่วมกับเครือข่ายสุขภาพตำบลน้ำน้อยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพประชากรแม่และเด็กสู่ความยั่งยืน ตามกระบวนการคุณภาพการจัดระบบบริการในพื้นที่ตามมาตรฐานเชื่อมโยงสู่ครัวเรือนและชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขแกนนำหมู่บ้านปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุนี้จึงได้จัดทำโครงการ“อุ่นไอรักอ้อมอกแม่สู่ลูก” ปี 2562เพื่อให้ เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน และให้ภาคี เครือข่ายทุกภาคส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อมในการพัฒนาและขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้เป็นรากฐานการพัฒนาชุมชน ตำบลน้ำน้อยตลอดจนประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดแรกเกิด-6 เดือนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ข้อที่ 2.สร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ข้อที่ 3 สร้างเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากครอบครัว สู่ ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือนร้อยละ100 2.ท้องถิ่น ชุมชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือน 3.จัดตั้งแกนนำแม่และเด็กการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 1. 1ศึกษาค้นหาข้อมูลสตรีตั้งครรภ์ / หญิงหลังคลอดในเขตพื้นที่ 1. 2ประชุมวางแผนวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับแกนนำสุขภาพเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบ - แกนนำสุขภาพ จำนวน 40 คน 1. 3จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเสนอเพื่อขออนุมัติ 1.

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 1. 1ศึกษาค้นหาข้อมูลสตรีตั้งครรภ์ / หญิงหลังคลอดในเขตพื้นที่ 1. 2ประชุมวางแผนวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับแกนนำสุขภาพเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบ - แกนนำสุขภาพ จำนวน 40 คน 1. 3จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเสนอเพื่อขออนุมัติ 1.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บาท x 40 คนx 1 มื้อ = 1,000 บาท


  • ค่าอาหารกลางวัน
    60 บาท x81 คน = 4,860 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(เช้า) 25บาท x 84คนx 1มื้อ =  2,100 บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(บ่าย) 25บาท x 81 คนx 1มื้อ = 2,025 บาท -ค่าวิทยากรอบรม
    500 บาท x 6ชม. x 1 คน=  3,000บาท
  • ค่าวัสดุสำนักงานใช้ในการอบรม เช่นแผ่นพับให้ความรู้  กระดาษ A4  ดินสอ เป็นต้น= 700 บาท
  • ค่าจ้างจัดทำป้ายไวนิลโครงการ
    ขนาด 1.3 เมตร x 2.7 เมตร= 500บาท -วัสดุสาธิต (ถุงเก็บน้ำนม)แก่หญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด/แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 60ชุดx90บาท =5,400
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.  จำนวนหญิงหลังคลอดในชุมชนให้นมแม่ อย่างเดียว 6 เดือน มีเพิ่มมากขึ้น
2.  มีการขับเคลื่อนความร่วมมือของภาคีเครือข่ายต่างๆในการสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าง เดียว 6 เดือน และมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในชุมชนเพิ่มขึ้น 3.  สามารถสร้างภาคีเครือข่ายภายในชุมชนโดยมีบุคคลต้นแบบ ครอบครัวตัวอย่างในแต่ละชุมชน สามารถ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชุมชนให้มี การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมากขึ้น 4.  ประชาชนในชุมชนมีองค์ความรู้ ใหม่ ๆเกี่ยวกับอนามัยแม่และเด็กและการดูแลสุขภาพได้ มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19585.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,585.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.จำนวนหญิงหลังคลอดในชุมชนให้นมแม่ อย่างเดียว 6 เดือน มีเพิ่มมากขึ้น
2.มีการขับเคลื่อนความร่วมมือของภาคีเครือข่ายต่างๆในการสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าง
เดียว 6 เดือน และมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในชุมชนเพิ่มขึ้น
3.สามารถสร้างภาคีเครือข่ายภายในชุมชนโดยมีบุคคลต้นแบบ ครอบครัวตัวอย่างในแต่ละชุมชน สามารถ
ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชุมชนให้มี การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมากขึ้น
4.ประชาชนในชุมชนมีองค์ความรู้ ใหม่ ๆเกี่ยวกับอนามัยแม่และเด็กและการดูแลสุขภาพได้ มากขึ้น


>