กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและกำจัดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

หมู่ที่ 1-7 ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

7.20

เนื่องด้วยพื้นที่ตำบลลางา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย คิดเป็น 91.81 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีผู้ป่วยในระยะช็อค 2 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยสภาพอากาศที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดบวกกับสภาพแวดล้อมที่เป็นสวนยางพารา มีน้ำขังตามแหล่งชุมชนต่างๆ ทำให้ยุงสามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยและการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ดัชนียุงลายน้อยกว่า 10 ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า 20 ต่อประชากรแสนคน

1.00
2 เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

พื้นที่ที่มีโรคไข้เลือดออก ได้รับการควบคุม ป้องกัน ไม่มีรายที่ 2 และไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,520
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
การควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการลงพื้นที่ดำเนินการควบคุม กำจัดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่มีโรคและควบคุมการระบาดในวงกว้าง 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้เครื่องมือและการพ่นหมอกควันที่ถูกวิธี จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท *1 มื้อ เป็นเงิน 625 บาท 2.ค่าจัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควันขนาดพกพา จำนวน 7 เครื่อง (หมู่ละ 1 เครื่อง) ราคา 2,000 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท 3.ค่าจัดซื้อน้ำยา เพื่อใช้กำจัดยุงลายตัวแก่ จำนวน 7 ขวดๆละ 700 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท 4.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการพ่นหมอกควัน จำนวน 2,000 บาท 5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค อาทิ เช่น แก๊สกระป่อง ทรายอะเบท โลชั่นทากันยุง สเปรย์ เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 2.เพื่อลดอัตราการเกิดรายใหม่ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,525.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยรายการได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2.ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน generationที่ 2
3.หมู่บ้านมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ค่า(hi ไม่เกิน 10 )
4.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
5.ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก


>