กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกเคียน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะต้นทางบ้านทอน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกเคียน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5

1.นางซารีฮะ มะยุนุห์
2.นางเจะมารียัม สะอิ
3.นางฮัยดง นิซาแย
4.นางสาวนูรีดา ยูโซะ
5.นางพาดีละ ปะดอโซะ

ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านทอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

3.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

0.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

0.00

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นของอัตราประชากร การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ในประเทศไทย ประสบปัญหาเรื่องมลภาวะโดยเฉพาะเรื่องของขยะมูลฝอยซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นมากขึ้นทุกปี อีกทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยกลับไม่ได้กำจัดแบบถูกสุขลักษณะ เช่น การกองไว้กลางแจ้ง การเผา การฝังที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน อีกทั้งความตระหนักและจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนยังมีน้อยมาก ไม่เห็นความสำคัญของปัญหา การขาดความร่วมมือจากประชาชน จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องตามแก้ไขอยู่ตลอดเวลาและไม่จบสิ้น
การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับครัวเรือน การให้สุขศึกษาจะทำให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจสภาพปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความสนใจและใส่ใจในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบที่แตกต่างกัน จะสามารถลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

3.00 1.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

0.00 20.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

0.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/01/2019

กำหนดเสร็จ 27/02/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้การจัดการขยะต้นทาง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การจัดการขยะต้นทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3000 บาท 2. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท 50 คน เป็นเงิน 2500 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท 50 คน เป็นเงิน 2500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะตามหลักวิชาการได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8750.00

กิจกรรมที่ 2 การสาธิตทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
การสาธิตทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท 20 คน เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนสามารถนำขยะอินทรีย์มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพมาใช้ในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
สร้างครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าถังหมักที่มีฝาปิดสนิทขนาด 56 ลิตร บาท จำนวน 20 ใบๆ ละ 155 บาท เป็นเงิน 3100 บาท 2. ค่ากากน้ำตาล จำนวน 20 ลิตรๆละ 75 บาท เป็นเงิน 1500 บาท 3. ค่าเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 20 ลิตรๆละ 90 บาท เป็นเงิน 1800 บาท 4. ค่าถุงขยะดำ ขนาด 30 นิ้ว x 40 นิ้ว จำนวน 20 แพ็คๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท 5. ค่าธงเขียวครัวเรือนต้นแบบ 20 อันๆ ละ 80 บาทเป็นเงิน 1600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดครัวเรือนตัวอย่างขึ้นในชุมชนและเป็นต้นแบบที่สามารถส่งต่อองค์ความรู้ให้ครัวเรือนอื่นในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตต่อวันลดลง
2. ประชาชนมีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น
3. จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น


>