กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1. ร้อยตรีสุริยา นวลเต็ม
2. นางละเอียด สุวรรณชาตรี
3. นางอุไร จันทร์แก้ว
4. นางวรรณา ทองด้วง
5. นายชม หนูชาย

ม.2,3,4,5,6 และ 8 ตำบลบ้านโคกชะงาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีผุ้สูงอายุทั้งหมด 531 คนป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 253 คน โรคเบาหวาน จำนวน 77 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 32 คน ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์

 

4.00

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รายงานว่าในปี 2564 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2561 สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 โดยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด เมื่อเทียบกับประเทศในสมาชิกอาเซียนด้วยกัน พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ สูงเป็นอันดับที่ 2 คือ ร้อยละ 16 รองจากประเทศสิงคโปร์ คือ ร้อยละ 18 อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 75 ปี เมื่อสำรวจสุขภาพของประชาชน พบว่า ร้อยละ 75.5 สามารถดูแลตัวเองได้ ร้อยละ 19 ต้องพึ่งพาผู้ดูแลบ้าง และร้อยละ 1.5 ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องพึ่งพิงผู้ดูแล เมื่ออายุเพิ่มขึ้นระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม เป็นต้น อีกทั้งปัจจุบันครอบครัวไทยได้เปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือต่างจังหวัด ทำให้ผู้สูงอายุอาศัยอยู่บ้านตามลำพังเมื่อเกิดการเจ็บป่วยไม่สามารถมารับบริการจากสถานบริการสาธารณสุขได้ ดังนั้นปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และด้านระบบการเข้าถึงบริการ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพให้มีสมดุลทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมทั้งการอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข ทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการดำรงชีวิตในกิจวัตรประจำวัน สามารถดูแลตนเองได้และเป็นที่พึ่งให้กับบุตรหลานในครอบครัว ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ให้ผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญ ซึ่งกิจกรรมที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การออกกําลังกาย 2) รับประทานผักสดและผลไม้สด 3) ดื่มนํ้าสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 4) ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 5) ไม่สูบบุหรี่
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 531 คน ในปี 2561 มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 253 คน โรคเบาหวาน จำนวน 77 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 32 คน ชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายได้ดำเนินการ ประเมินผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ พบว่า เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมมากที่สุด 458 คน ติดบ้าน 65 คน และติดเตียง 8 คน ที่น่ากังวล คือ แนวโน้มมีผู้สูงอายุติดเตียงเพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งยังมีผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายและภาคีเครือข่ายจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขึ้น โดยมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางด้านร่างกาย และจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ทั้ง 5 กิจกรรม สามารถดำรงชีวิตในแต่ละวันได้อย่างมีความสุข ลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่ป่วยแล้ว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และเหมาะสมกับวัย
  1. ผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์การประเมินสุขภาพไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 2.ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีระดับความสุขเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 25บาทจำนวน 2มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คน ๆ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600บาท 4.ค่าวัสดุในการอบรม 2,000 บาทประกอบด้วย 4.1ไวนิล จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 1,000 บาท
4.2สมุดบันทึก จำนวน 100 เล่ม เล่มละ 10บาทเป็นเงิน1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 15,600 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผุ้สูงอายุมีความรู้การดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมให้ความรู้เมนูสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมให้ความรู้เมนูสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าวัสดุในการอบรมจำนวน3,000 บาท ประกอบด้วย 4.1ไวนิล จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน1,000 บาท
4.2สมุดและปากกา จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 20 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท
4.3อุปกรณ์กิจกรรมกลุ่ม มี กระดาษสีกระดาษฟรู๊ฟ ปากกาเคมี = 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,600 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีความรู้พฤติกรรมสุขภาพเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น 2.ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 3 3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่/ปฏิบัติธรรม

ชื่อกิจกรรม
3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่/ปฏิบัติธรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท รวม 8,600 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผุ้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี ร่าเริง แจ่มใส 2.ลดภาวะโรคซืมเศร้าในผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,800.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และลดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง


>