กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 2562-L3351-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 35,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ร้อยตรี สุริยา นวลเต็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีผุ้สูงอายุทั้งหมด 531 คนป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 253 คน โรคเบาหวาน จำนวน 77 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 32 คน ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รายงานว่าในปี 2564 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2561 สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 โดยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด เมื่อเทียบกับประเทศในสมาชิกอาเซียนด้วยกัน พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ สูงเป็นอันดับที่ 2 คือ ร้อยละ 16 รองจากประเทศสิงคโปร์ คือ ร้อยละ 18 อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 75 ปี เมื่อสำรวจสุขภาพของประชาชน พบว่า ร้อยละ 75.5 สามารถดูแลตัวเองได้ ร้อยละ 19 ต้องพึ่งพาผู้ดูแลบ้าง และร้อยละ 1.5 ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องพึ่งพิงผู้ดูแล เมื่ออายุเพิ่มขึ้นระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม เป็นต้น อีกทั้งปัจจุบันครอบครัวไทยได้เปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือต่างจังหวัด ทำให้ผู้สูงอายุอาศัยอยู่บ้านตามลำพังเมื่อเกิดการเจ็บป่วยไม่สามารถมารับบริการจากสถานบริการสาธารณสุขได้ ดังนั้นปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และด้านระบบการเข้าถึงบริการ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพให้มีสมดุลทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมทั้งการอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข ทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการดำรงชีวิตในกิจวัตรประจำวัน สามารถดูแลตนเองได้และเป็นที่พึ่งให้กับบุตรหลานในครอบครัว ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ให้ผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญ ซึ่งกิจกรรมที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การออกกําลังกาย 2) รับประทานผักสดและผลไม้สด 3) ดื่มนํ้าสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 4) ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 5) ไม่สูบบุหรี่ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 531 คน ในปี 2561 มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 253 คน โรคเบาหวาน จำนวน 77 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 32 คน ชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายได้ดำเนินการ ประเมินผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ พบว่า เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมมากที่สุด 458 คน ติดบ้าน 65 คน และติดเตียง 8 คน ที่น่ากังวล คือ แนวโน้มมีผู้สูงอายุติดเตียงเพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งยังมีผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายและภาคีเครือข่ายจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขึ้น โดยมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางด้านร่างกาย และจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ทั้ง 5 กิจกรรม สามารถดำรงชีวิตในแต่ละวันได้อย่างมีความสุข ลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่ป่วยแล้ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และเหมาะสมกับวัย
  1. ผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์การประเมินสุขภาพไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 2.ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีระดับความสุขเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,800.00 3 35,800.00
??/??/???? 1.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย 0 15,600.00 15,600.00
??/??/???? 2.อบรมให้ความรู้เมนูสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 0 11,600.00 11,600.00
??/??/???? 3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่/ปฏิบัติธรรม 0 8,600.00 8,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุมีสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และลดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2562 00:00 น.