กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมบ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน อ.เมือง จ.สตูล ปี2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1.นางเบญจมาภรณ์หลีเส็น
2.นางนฤมลโต๊ะหลัง
3.นายอำนวนเกศนี
4.นางอารีนีหมัดสะแหละ
5.นางสุกัญญาลัสมาน

รพ.สต.บ้านควน (บ้านควน2)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลส่งต่อให้ติดตามเยี่ยมที่บ้าน

 

100.00

หลักการและเหตุผล
จากการดำเนินงานการให้บริการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน(HHC) โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งได้นำผลลัพธ์การดำเนินงาน มาร่วมกันวิเคราะห์พบว่าผู้ป่วยและญาติยังพร่องความรู้ และทักษะการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เรื่องโรค ขาดความตระหนักเรื่องการปฏิบัติตัวมีปัญหาด้านจิตใจเครียดจากภาวะเจ็บป่วย ปัญหาเศรษฐกิจปัญหาขาดผู้ดูแลการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคผลจากการ ติดตามเยี่ยมบ้าน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ได้วิเคราะห์ปัญหาที่พบ ออกเป็นรายด้านได้ ๔ ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านยา(เรื่องการจัดเก็บยา การลืมรับประทานยา ) อาหาร (เรื่องการควบคุมอาหาร ,การรับประทานอาหารสัมพันธ์กับมื้อยา)การปฏิบัติ(เรื่องความรู้ เรื่องโรค การแก้ไขภาวะฉุกเฉินที่บ้าน) ,การออกกำลังกาย /การทำกายภาพบำบัด (เรื่องความต่อเนื่อง ) นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยมีปัญหา ทักษะการดูแลตนเอง การทำความสะอาด อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น สายสวนปัสสาวะ NG Tube,ท่อหลอดลมคอ การใช้O๒ Home Therapyรวมไปถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอเช่น เบาะลมเตียงผู้ป่วยเครื่องดูดเสมหะ เป็นต้นดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนจึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพขึ้นเพื่อเน้นให้ญาติและผู้ป่วยมีศักยภาพและความมั่นใจในการดูแลตนเองที่บ้านมากขึ้น โดยมีการดูแลต่อเนื่องจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการติดตามประเมิน การดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติที่บ้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจและสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพที่บ้านได้

ร้อยละของผู้แลมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านได้

80.00 80.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง

ร้อยละของผู้ป่วยติดเตียงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มญาติผู้ดูแลผู้ป่วย 5
กลุ่มผู้ป่วยที่โรงพยาบาลส่งต่อให้ติดตามเยี่ยมบ้าน 5
กลุ่มผู้สูงอายุ/ผู้พิการติดเตียง 5
กลุ่มแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนและผู้นำชุมชน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเตรียมอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  • ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
    จัดตั้งคณะกรรมการทำข้อมูลผู้ป่วย นำเสนอข้อมูลหาแนวทางแก้ไขปัญหา
  • จัดทำกลุ่มไลน์เป็นศูนย์กลางในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องเยี่ยมบ้านให้ได้รับการดูแลและสนับสนุนอย่างทั่วถึง กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน การดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชน
  • จัดซื้อเบาะลมพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 ชุด ๆละ 5000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท (ใช้หมุนเวียนในผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน เพื่อป้องกันแผลกดทับ โดย รพ.สต.เป็นศูนย์กลางในการเก็บรักษาอุปกรณ์)
  • จัดซื้อเครื่องดูดเสมหะ จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 3500 บาทเป็นเงิน3,500 บาท (ใช้หมุนเวียนในผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านที่ไม่สามารถขับเสมหะออกได้เอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดย รพ.สต.เป็นศูนย์กลางในการเก็บรักษาอุปกรณ์)
  • จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,950บาท เป็นเงิน 2,950 บาท (ใช้หมุนเวียนในผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ใช้วัดความดันโลหิตเพื่อประเมินสัญญาณชีพ โดย รพ.สต.เป็นศูนย์กลางในการเก็บรักษาอุปกรณ์ )
  • จัดซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำนวน 1 เครื่องๆละ 1,900 บาท เป็นเงิน1,900 บาท (ใช้หมุนเวียนในผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน เพื่อประเมินระดับออกซิเจนในร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ โดย รพ.สต.เป็นศูนย์กลางในการเก็บรักษาอุปกรณ์) อุปกรณ์ที่จัดซื้อใช้ในการทำงานเชิงรุกในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข,อสม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับทราบและเข้าใจปัญหาและแนวทางการจัดทำโครงการเยี่ยมบ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพ
  • มีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน โดยมี รพ.สต.เป็นศูนย์กลางในการหมุนเวียนอุปกรณ์ให้ผู้ป่วย
  • เกิดเครือข่าย ดูแลเกื้อกูลกันในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23350.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ญาติผู้ดูแล แกนนำอาสาสมัคร ผู้นำชุมชน
    -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 25คน ๆละ 75 บาทเป็นเงิน 1875 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีระบบเยี่ยมบ้านที่จัดร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน เกิดเครื่อข่ายบริการและเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยในชุมชน
  • ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพที่บ้านได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมบ้านเชิงรุกผู้ป่วยติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
ลงเยี่ยมบ้านเชิงรุกผู้ป่วยติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยป่วยตามเกณฑ์(เกณฑ์ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและความต้องการการช่วยเหลือ) โดยเจ้าหน้าที่ ,แกนนำ อสม.และทีมสหวิชาชีพดังนี้
    ความรุนแรงระดับ 1 ผู้ป่วยที่เริ่มเจ็บป่วยระยะแรกจากการเป็นโรค แต่ขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพ เยี่ยมครั้งแรกภายใน 1 เดือน ติดตามทุก 6 เดือนหรือตามสภาพปัญหา
    ความรุนแรงระดับ 2 ผู้ป่วยที่โรคส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติ ต้องการผู้ดูแลช่วยเหลือการทำกิจวัตรประจำวันให้เยี่ยมครั้งแรกภายใน 2-3 สัปดาห์ ติดตามทุก 3 เดือนหรือตามสภาพปัญหา
    ความรุนแรงระดับ 3 ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของโรคทำให้เกิดความพิการ/จำกัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือ(ความรุนแรงมาก) เยี่ยมครั้งแรกภายใน 1-2 สัปดาห์ ติดตามทุก 1 เดือนหรือตามสภาพปัญหา
  • ให้คำแนะนำ ดูแลช่วยเหลือตามสภาพความรุนแรงของผู้ป่วย
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์มาตรฐาน
  • ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,850.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- มีระบบเยี่ยมบ้านที่จัดร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน เกิดเครื่อข่ายบริการและเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยในชุมชน
- ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพที่บ้านได้


>