กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการว่ายน้ำได้ เพื่อชีวิตปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มสมาชิก อปพร. อบต.บ้านควน

1. นายอับดลรอเช็ด ยาติกุล
2. นายมุสตอฟา สุมาตรา
3. นางรอฮิม๊ะ อารีหมาน
4. นางรอณา ดาหลี
5. นางสาวยามีล๊ะ ยะโกบ

คลองมำบัง พื้นที่ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่ตำบลบ้านควน ปี2559 (คน)

 

3.00
2 จำนวนเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่ตำบลบ้านควน ปี2560 (คน)

 

1.00
3 จำนวนเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่ตำบลบ้านควน ปี2561 (คน)

 

0.00

จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละปีตำบลบ้านควนมีอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจากอุบัติเหตุทางน้ำในอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับการเสียชีวิตทุกสาเหตุและในเขตพื้นที่ตำบลบ้านควนมีรายงานเด็กเกิดอุบัติเหตุทางน้ำและเสียชีวิตเนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำ ที่เด็กสามารลงเล่นน้ำได้อีกทั้งในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังในระดับสูงโดยเด็กและผู้ปกครองไม่ตระหนักึงอันตรายของการเล่นน้ำและไม่รู้วิธีช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
ดังนั้นทางสมาชิก อปพร. อบต.บ้านควนได้เห็นความสำคัญจึงร่วมจัดโครงการว่ายน้ำได้ เพื่อชีวิตปลอดภัย แก่นักเรียนเพื่อสร้างความปลอดภัยทางน้ำแก่นักเรียนรู้จักสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้ถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล โดยจะจัดให้มีการฝึกว่ายน้ำแก่นักเรียนในวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2562

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฝึกหัดเด็กอายุระหว่าง 8- 12 ปี ที่ว่ายน้ำไม่ได้ให้สามารถว่ายน้ำได้และเอาชีวิตรอดจากการเสียชีวิตเมื่อประสบเหตุทางน้ำ

ร้อยละของเด็กที่เข้าร่วมโครงการ สามารถช่วยเหลือตัวเองจากการจมน้ำได้เมื่อประสบเหตุ อย่างน้อยร้อยละ 90

0.00 100.00
2 เด็กที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำ และวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อจมน้ำ

ร้อยละ ของเด็กที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาการอบรม ผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย ร้อยละ 95

100.00
3 ผู้ปกครองให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมกับบุตรหลานของตนเอง

(ร้อยละ) ผู้ปกครองให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติ อย่างน้อย ร้อยละ 80

85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตัวแทนผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมาย 70

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ทักษะการช่วยเหลือตัวเองไม่ให้จมน้ำ (ภาคบรรยาย) โดยทีมวิทยกร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ทักษะการช่วยเหลือตัวเองไม่ให้จมน้ำ (ภาคบรรยาย) โดยทีมวิทยกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเด็กในช่วงอายุ 8- 12 ปี ในตำบล โดยแบ่งหมู่ละ 10 คนแจ้งให้ผู้ปกครองอนุญาตในการเข้าร่วมกิจกรรม กำหนดวันจัดกิจกรรมอบรม จำนวน1 วัน ดังนี้
1. ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรมและวิทยากร จำนวน72 คนๆละ 125 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร บรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม จำนวน 70 ชุดๆละ 15 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
4. ค่าถ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน500 บาท

กำหนดการจัดอบรม
09.00น. - 12.00น. เน้นเรื่องการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อพบเห็นคนจมน้ำ

12.00น. - 13.00น. พักเที่ยง

13.00น. - 16.00น. อบรมภาคทฤษฎีการว่ายน้ำและทักษะการเอาตัวรอดเมื่อจมน้ำ
หมายเหตุ รายละเอียดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 8-12 ปี ตามกลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรม ภาคทฤษฎี ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อยร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14150.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกภาคปฏิบัติการว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดและทักษะการช่วยเหลือตัวเองไม่ให้จมน้ำ โดยทีมวิทยากร

ชื่อกิจกรรม
ฝึกภาคปฏิบัติการว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดและทักษะการช่วยเหลือตัวเองไม่ให้จมน้ำ โดยทีมวิทยากร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 4 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 17 - 18 คนแต่ละกลุ่มใช้เวลาฝึกปฏิบัติจำนวน 3 ชั่วโมง คิดเป็นระยะเวลาทั้งหมด 2 วัน โดยการคัดเลือกสถานที่ฝึกโดยใช้แหล่งน้ำคลองมำบัง บริเวณสะพานใหม่ หมู่ที่ 5 เป็นพื้นที่ฝึกหัด เชิญผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมในการฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นการดูแลบุตรหลานของตนเองมีวิทยากรหลักจำนวน 3 คน ทีมพี่เลี้ยงโดยกลุ่ม อปพร. 8 คน
1.ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆละ 12 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ปกครองเด็ก (กลุ่มฝึกปฏิบัติภาคเช้าวันละ1 กลุ่ม จำนวน 2 วันกลุ่มๆละ 18 คน รวมผู้ปกครองอีก 18 คน) (วิทยาก 3 คน ทีมพี่เลี้ยง อปพร. 8 คน) จำนวน 94 คนๆละ 75 บาทเป็นเงิน 7,050 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่มกลุ่มเป้าหมายและผู้ปกครองจำนวน 140 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากร 3 คน ทีมพี่เลี้ยง 8 คนรวม 11 คนๆละ 25 บาท*4 มื้อ เป็นเงิน 1,100 บาท
5.ค่าอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติ จำนวน 1,000 บาท
กำหนดการฝึกปฏิบัติจำนวน 2 วัน
ภาคเช้า เด็ก 18 คน ผู้ปกครอง 18 คน วิทยากร 3 คน ทีมพี่เลี้ยง 8 คน
ภาคบ่ายเด็ก 17 คน ผู้ปกครอง 17 คน วิทยากร 3 คน ทีมพี่เลี้ยง 8 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกปฏิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23450.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติ ทบทวน ทักษะการช่วยเหลือตนเองไม่ให้จมน้ำ โดยทีม อปพร. จำนวน 4ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติ ทบทวน ทักษะการช่วยเหลือตนเองไม่ให้จมน้ำ โดยทีม อปพร. จำนวน 4ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทบทวนทักษะของกลุ่มเป้าหมายโดยทีมพี่เลี้ยง อปพร. จำนวน 8 คน จำนวน 4 ครั้ง และประเมินผล
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเด็กกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ของพี่เลี้ยงทีม อปพร. จำนวน 8 คนๆละ 125 บาท * 2 วันเป็นเงิน 2,000 บาท
กำหนดการฝึกปฏิบัติ ทบทวน โดยทีมพี่เลี้ยง จำนวน 2 วัน
ภาคเช้า เด็ก 18 คน ทีมพี่เลี้ยง 8 คน
ภาคบ่ายเด็ก 17 คนทีมพี่เลี้ยง 8 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทบรวนการปฏิบัติและประเมินผลทักษะการเอาตัวรอดเมื่อประสบเหตุทางน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กที่เข้าร่วมโครงการสามารถว่ายน้ำหรือเอาลอยตัวในน้ำได้
2. ลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุระหว่าง 8- 12 ปี พื้นที่ตำบลบ้านควนได้


>